ในมหาภารตะมีการทำพิธีนิโยคอยู่หลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มเรื่องเลย คือการให้ฤๅษีวยาสทำพิธีนิโยคกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกา ทั้งคู่เป็นมเหสีพระเจ้าวิจิตรวีรยะ

พระเจ้าวิจิตรวีรยะได้ตายไปก่อนโดยยังไม่มีลูก ทีนี้จะทำยังไงถึงจะมีผู้สืบวงศ์ได้หละ ไม่ยากทำได้ง่ายๆโดยการทำพิธีนิโยค พูดง่ายๆ ก็เป็นการไปหาผู้ชายมาช่วยทำให้ท้องนั้นแหละ

แต่ก็มีกฏในการทำอยู่หลายข้อเหมือนกัน แต่เท่าที่อ่านดูกฏพวกนี้เหมือนถูกเพิ่มมาทีหลัง บางกฏในมหาภารตะก็เหมือนจะไม่ได้ทำตาม เป็นไปได้ว่าเรื่องในมหาภารตะถูกเขียนไว้ก่อน แล้วกฏพวกนี้ค่อยเติมมาทีหลัง

ในการทำพิธีนิโยคจะใช้ในกรณีที่ผู้เป็นสามีได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะมีลูก หรือสามีอาจจะไม่ต้องตายก็ได้แต่ว่าติดปัญหาว่าทำลูกไม่ได้ เช่นไปสาบานไว้ว่าจะไม่มีอะไรกับผู้หญิงอีก ส่วนผู้ชายคนที่จะทำให้ก็จะเป็นคนในวงศ์เดียวกันหรือคนที่ให้ความเคารพนับถือ มีกระทั้งให้เทพมาทำให้ก็มี

กฏในการทำพิธีนิโยค

  1. ผู้หญิงที่ทำพิธีนี้ต้องทำเพื่อการมีลูกเท่านั้น
  2. ลูกที่เกิดมาให้ถือเป็นลูกของสามีและผู้หญิงที่ทำพิธีนี้เท่านั้น
  3. การทำพิธีนิโยคทำได้เพื่อการมีลูกเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อความสุขทางเพศ
  4. ผู้ชายที่มาทำพิธีให้ไม่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องใดๆ กับลูกที่เกิดมา
  5. ผู้ชายสามารถทำพิธีนิโยคให้กับผู้หญิงได้แค่ 3 ครั้งเท่านั้นตลอดชีวิตตัวเอง (ฤๅษีวยาสใช้โค้วตาหมดพอดีเพราะไปทำให้กับหญิงรับใช้ด้วยอีกคนหนึ่ง)
  6. ในการทำพิธีทั้งชายและหญิงต้องตั้งมั่นในหลักธรรม ผู้หญิงต้องตั้งมั่นที่จะทำเพื่อสามี ผู้ชายก็ต้องทำเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงเพื่อให้มีลูกเท่านั้น
  7. จะไม่มีการสัมผัสร่างกายส่วนบน มีม่านกันระหว่างกัน (อันนี้น่าจะมาทีหลัง เพราะฤๅษีวยาสกับพระนางอัมพิกาและพระนางอัมพาลิกา ก็ยังทำให้พระนางทั้งสองรู้สึกสะอิดสะเอียนจนต้องปิดตาและตัวสั่นได้)
  8. ทั้งชายและหญิงจะต้องทาเนยกีที่ตัว (Ghee) เขาว่าเป็นเนยอินเดีย เป็นยังไงไม่รู้เหมือนกัน