Android/WindowsPhone – DevExperience https://www.unzeen.com :// Sun, 17 Nov 2019 03:10:35 +0000 en-US hourly 1 ห้องทดลอง IOIO board และ Android application https://www.unzeen.com/article/2560/ https://www.unzeen.com/article/2560/#respond Tue, 22 Oct 2013 16:47:38 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2560 หัวข้อนี้จะรวบรวมโปรเจคที่เกียวกับการใช้งาน IOIO board และ Android ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทดลองเล่นๆของผมเองและไม่ได้เขียนเป็นบทความลงในเว็บ อย่างแรกมาทำความรู้จักกับ IOIO board กันก่อนครับ IOIO เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์แอนดรอยด์ได้ โดยมี พอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอลให้ใช้มากถึง 48 ช่อง, พอร์ตอินพุตอนาลอค 16 ช่อง, พอร์ตเอาต์พุต PWM 9 ช่อง, UART และ I2C ราคาของ IOIO หรือ IOIO-Q ตอนนี้ก็อยู่ที่ประมาณ 1,000 กว่าบาทเหมาะที่จะหามาไว้ทดลองเป็นอย่างยิ่ง จริงๆผมซื้อ IOIO board มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และใช้เวลาในวันหยุดทดลองเล่นนู้นนี้ไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ก็จะครบปีแล้ว มาดูกันว่าทดลองอะไรไปบ้าง (ซอสโค้ดทั้งหมดพร้อมวงจรผมเอาไว้ที่ Github.com นะครับ)

IOIO & Robot Arm
ทดสอบควบคุมแขนกลด้วยโปรแกรมจากมือถือแอนดรอยด์
ioio-robot-arm


Leap Motion & Robot Car
ทดสอบควบคุมรถหุ่นยนต์ด้วยการสั่งงานผ่านมือด้วย Leap Motion (โบกมือเพื่อสั่งให้รถเคลือนที่)
ioio-leap-motion-robot-car


Leap Motion & Image Rotate 360° / Panorama
ทดสอบการควบคุมการหมุนของรูปที่หน้าเว็บบราวเซอร์โดยใช้ Leap Motion
ioio-leap-motion-image-rotete


IOIO_COLOR_RECOGNITION_SENSOR
ทดสอบการตรวจสอบสีของพื้นผิวโดยแสดงผลที่มือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_COLOR_RECOGNITION_SENSOR

ioio-color-recognition-sensor


IOIO_LED
ทดสอบการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยมือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_LED

ioio-led


IOIO_Servo_Normal
ทดสอบการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ด้วยมือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_Servo_Normal

ioio-servo-normal


IOIO_SERVO_360
ทดสอบการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์แบบหมุนต่อเนื่องด้วยมือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_SERVO_360

ioio-servo-360


IOIO_STEP_MOTOR
ทดสอบการควบคุมการหมุนของสเต็ปมอเตอร์ด้วยมือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_STEP_MOTOR

ioio-step-motor


IOIO_ULTRASONIC_SENSOR
ทดสอบการวัดระยะทางด้วยคลื่นเสียงอัลตราโซนิคและแสดงผลระยะทางที่มือถือ
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_ULTRASONIC_SENSOR

ioio-ultrasonic-sensor


IOIO_PIR_MOTION_SENSOR
ทดสอบการตรวจสอบการเคลื่อนไหวจากการตรวจจับรังสีอินฟราเรด
Source Code : https://github.com/LookHin/IOIO_PIR_MOTION_SENSOR

ioio-pir-motion-sensor


]]>
https://www.unzeen.com/article/2560/feed/ 0
สั่งปริ้นเครื่องปริ้นที่บ้านได้จากทั่วมุมโลกด้วย Google Cloud Print https://www.unzeen.com/article/2532/ https://www.unzeen.com/article/2532/#comments Wed, 16 Oct 2013 19:25:14 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2532 Extensions เข้าไปที่ Tab Settings และเลือก Show advanced settings จะเห็นข้อมูลส่วนของ Google Cloud Print โพล่ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ Add printers ทำการเลือก Printer […]]]> วันนี้มาทดลองการใช้งาน Google Cloud Print กันดูครับ โดยเราจะทำการทดลองปริ้นงานจากมือถือแอนดรอยด์ให้ไปออกที่เครื่องปริ้นที่เราได้ทำการเพิ่มเอาไว้ใน Google Cloud Print ซึ่งจริงๆ ก็สามารถสั่งปริ้นได้จากเครื่องคอมเครื่องอื่นด้วยก็ได้ครับ หรือจะใช้ Raspberry Pi เป็นเครื่องคอมฯ ที่ต่อกับปริ้นเตอร์เพื่อรอรับงานพิมพ์ก็ทำได้ (แต่ในบทความนี้ไม่ได้ทำนะ อยากลองก็ลองเอง) เริ่มกันเลยครับ สิ่งที่ต้องมีอย่างแรกก็คือ Google Chrome คิดว่าทุกวันนี้ทุกเครื่องคงมี Google Chrome กันอยู่แล้วไม่ต้องกล่าวถึงว่ามันคืออะไร เราข้ามไปที่ขั้นตอนการติดตั้ง Google Cloud Print กันเลยครับ

คลิกที่ปุ่มเครื่องมือปุ่มบนขวาของ Google Chrome และเลือกที่ Tools -> Extensions
google-cloud-print

เข้าไปที่ Tab Settings และเลือก Show advanced settings จะเห็นข้อมูลส่วนของ Google Cloud Print โพล่ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ Add printers
google-cloud-print

ทำการเลือก Printer ที่เราต้องการ (ของผมก็เลือกเครื่อง Cannon iP2700 Series ที่ต่ออยู่) เลือกเสร็จแล้วก็กด Add printer ขั้นตอนการติดตั้งปริ้นเตอร์ก็เท่านี้ครับ เรียบร้อยแล้ว
google-cloud-print

ทีนี้ก็มาลองสั่งปริ้นกันบ้าง โดยเราจะทดลองปริ้นรูปภาพจากมือถือแอนดรอยด์กันครับ สิ่งที่เราต้องมีก็คือแอพ Google Cloud Print ถ้ายังไม่มีก็เข้าไปที่ Google Play เพื่อทำการติดตั้งกันก่อน Google Cloud Print เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราจะเห็น icon ของ Google Cloud Print ขึ้นมาในมือถือของเราแบบนี้ครับ
google-cloud-print

ทำการเปิดโปรแกรม Google Cloud Print เพื่อสั่งพิมพ์งานได้เลยครับ โดยกดเข้าไปที่รูปปริ้นเตอร์
google-cloud-print

จากนั้นทำการเลือกไฟล์ที่เราต้องการจะปริ้น
google-cloud-print

เลือกเครื่องปริ้นที่ต้องการ (ของผมก็เป็น iP2700) เพียงเท่านี้เราก็สามารถสั่งปริ้นงานได้จากทั่วทุกทีในโลก (ขอแค่ออนไลน์ได้และเครื่องปริ้นเรายังเปิดอยู่) ได้แล้วครับ (Google Chrome เราก็ไม่ต้องเปิดทิ้งไว้ด้วยนะครับ มันคงแอบทำงานอยู่ข้างหลังนั้นแหละ)
google-cloud-print

จริงๆ อันนี้สามารถนำไปประยุกช์ใช้งานกับ Raspberry Pi ก็ได้เหมือนกันนะครับ โดยให้ Respberry Pi ทำหน้าที่เป็นเครื่องคอมฯ ที่ต่อกับปริ้นเตอร์เอาไว้ตลอดเวลาเพื่อรอรับงานปริ้นก็ทำได้

]]>
https://www.unzeen.com/article/2532/feed/ 1
การส่งออกและน้ำเข้าโปรเจคแอนดรอยด์ในอีคลิปส์ https://www.unzeen.com/article/1782/ https://www.unzeen.com/article/1782/#respond Mon, 28 Nov 2011 17:35:12 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1782 Export 2. เลือกรูปแบบของการ Export เป็น Archive File 3. ทำการเลือกโปรเจคที่ต้องการส่งออก และในช่อง To archive file ให้เลือกไปยังโฟลเดอร์ปลายทาง และตั้งชื่อของ archive file ตามต้องการ ในทีนี้ผมตั้งว่า AndroidArchive.zip เสร็จสิ้นการ export […]]]> บ่อยครั้งที่เราเขียนโปรแกรมขึ้นมาแล้วมี error และจำเป็นที่จะต้องส่ง code ทั้งหมดไปให้เพื่อนอีกคนช่วยดู โดยอาจจะส่งเป็นไฟล์ต่อไฟล์กรณีนี้ถ้าเป็นโปรแกรมเล็กๆ มีไม่กี่ไฟล์ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเป็นโปรแกรมใหญ่ๆ ขึ้นมา อาจจะปวดหัวเอาได้ และถ้าหากว่าเราใช้ eclipse ในการเขียนด้วยแล้วหละก็จะมีไฟล์ที่เกียวข้องด้วยกันหลายไฟล์เลยทีเดียว ยิ่งถ้าเป็นโปรเจคที่เป็นแอนดรอยด์ด้วยแล้วหละก็มึน.. แต่ไม่ต้องกลัว eclipse เองก็ได้เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการ import/export มาให้เลือกใช้ได้หลายรูปแบบอยู่แล้ว แต่วันนีเราจะเลือกเอาแบบ Archive File แค่อย่างเดียว (แค่นี้ก็น่าจะพอ)

# การส่งออกโปรเจ็คเป็น Archive File (.zip)

1. เลือกที่เมนู File -> Export

2. เลือกรูปแบบของการ Export เป็น Archive File

3. ทำการเลือกโปรเจคที่ต้องการส่งออก และในช่อง To archive file ให้เลือกไปยังโฟลเดอร์ปลายทาง และตั้งชื่อของ archive file ตามต้องการ ในทีนี้ผมตั้งว่า AndroidArchive.zip

เสร็จสิ้นการ export android project ออกไปเป็น archive file แล้ว จากนี้ก็ส่งไฟล์นี้ไปให้เพื่อนดูได้ (ให้เพื่อนลอกการบ้านว่างั้น จะได้ไม่ต้องพิมพ์เอง หุหุ) ต่อไปมาดูขั้นตอนการ import กันบ้าง

# การนำเข้าโปรเจ็คจาก Archive File (.zip)

1. เลือกที่เมนู File -> Import

2. เลือกไปที่ Existing Projects into Workspace

3. ที่ช่อง Select archive file ให้เลือกไปยัง AndroidArchive.zip ที่เราได้ทำการ export ไว้ในขั้นตอนที่แล้ว (ถ้าทดสอบในเครื่องเดียวกัน คุณต้องลบโปรเจ็คที่ได้ export ไปแล้วนั้นออกจาก eclipse ก่อนนะ ไม่งั้นมันจะ import ไม่ได้) จากนั้นก็กด Finish เท่านี้โปรเจคที่เราได้ Archive ไว้ก็กลับมาแล้ว

]]>
https://www.unzeen.com/article/1782/feed/ 0
ความคิดเห็นเรื่องต่างๆที่เกียวกับเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ https://www.unzeen.com/article/1384/ https://www.unzeen.com/article/1384/#respond Thu, 15 Sep 2011 18:08:19 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1384 รวบรวมความคิดเห็นเรื่องต่างๆที่เกียวกับเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมบนมือถือที่เคยเขียนลงใน note ของ facebook เมื่อนานมาแล้วมาไว้ในบล็อคอีกที ซึ่งก็จะมีเรื่อง ความคิดเห็นเกียวกับภาษาและเครื่องมือพัฒนา Mobile App , ข้อคิดเห็นเกียวกับ Silverlight นายไม่ได้เกิดมาเพื่อฆ่า Flash , เรื่องของแอนดรอยด์ , และแถมด้วยเรื่องของ  \r และ \n อีกนิดหนึ่ง

ความคิดเห็นเกียวกับภาษาและเครื่องมือพัฒนา Mobile App

ภาษาและเครื่องมือพัฒนา Mobile App ของแต่ละ Platform

  • iPhone ใช้ภาษา Objective-C พัฒนาบน Xcode เป็น platform เดียวที่ให้พัฒนาโปรแกรมแบบ Native ได้ ฉะนั้นเรื่องประสิทธิภาพไม่ต้องพูดถึง มันสามารถใช้พลังของเครื่องได้มากกว่าตัวอื่นอยู่แล้ว
  • Android ใช้ภาษา Java พัฒนาด้วย Editor อะไรก็ได้ แต่แนะนำ Eclipse ส่วนตัว Run Time ของ Android ไม่ได้ใช้ JVM มาตรฐานของ Java แต่ใช้ Dalvik อนาคตขึ้นกับ Oracle และ Google จะคุยกันหละทีนี้ —”
  • Windows Phone 7 ใช้ VB,C# รันอยู่บน Silverlight , XNA พัฒนาด้วย Visual Studio ถึง wp7 จะมาทีหลังแต่ฐานผู้พัฒนาโปรแกรมบน Visual Studio ก็มีมากอยู่แล้ว คงไม่เป็นการยากที่จะเพิ่มจำนวน application ให้ทันคู่แข่งรายอื่น แต่ยังข้องใจในประสิทธิภาพของโปรแกรมที่รันอยู่บน Sliverlight ไม่น้อยว่ามันจะทำงานได้ดีขนาดไหน เพราะเข้าใจว่า Silverlight ก็รันอยู่บน .NET อีกที

ความเห็นส่วนตัวคิดว่าต่อไป Application ต่างๆ ควรถูกพัฒนาโดย HTML5 มากกว่า อาจจะเป็นการ Bundle HTML5 ลงไปในโปรแกรมที่พัฒนาโดยตรงก็ไม่น่ามีปัญหา หรืออย่างน้อยก็น่าจะเป็นการใช้ HTML5 คู่กับเครื่องมือพัฒนาหลักของแต่ละ platform ก็น่าจะทำได้ (Hybrid Apps) อย่างน้อยก็ช่วยลดเวลาในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับทั้ง 3 platform นี้ได้มากพอสมควร

ข้อคิดเห็นเกียวกับ Silverlight นายไม่ได้เกิดมาเพื่อฆ่า Flash

  1.  แรกเริ่ม เดิมที MS คงตั้งใจเอา Silverlight มาชนกับ Flash เต็มๆ แต่ก็ทำไม่ได้เพราะฐานผู้ใช้เดิมของ Flash มีเยอะเหลือเกิน อันนีคนแพ้ไม่ได้มีแค่ Silverlight แค่อย่างเดียว ยังมี JavaFX อีกตัวที่เกิดมาแล้วตายเลย
  2. คุณสมบัตเด่นของ Silverlight ไม่มีตัวไหนเลยที่ Flash ไม่มี อันนี้บาปปปปปปปปปมาก ถึงจะเอาเรื่อง smooth streaming มาเป็นจุดขายในเรือง VDO แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไร คงลืมไปว่าถ้าคนอยากดูหนังจริงๆ เค้าจะไปดูที่โรง บน web เอาไว้ดูคลิป
  3. MS ไม่ยอมทำ Sliverlight Run Time บน Platform อื่นๆ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Mono Project ที่ทำ Moonlight อยู่คนเดียว ซึงในมุมมองของผู้ใช้เราไม่มีความเชือมั่นในตัว Moonlight เลยซักนิด และ MS เองก็ไม่เคยสัญญาหรือมีทาทีให้การสนับสนุนโครงการแต่อย่างใด
  4. เครือ งมือในการพัฒนา Microsoft Expression Blend ทำออกมาได้ไม่ดีนัก ไม่เข้าใจว่าจะแยกมาทำไม ทำไมไม่รวมลงใน VS ซะให้หมด
  5. อนาคตของ Silverlight ที่จะใช้สำหรับ website คงหมดเท่านี้ จะอยู่รอดได้ก็ด้วย Windows Phone 7 เท่านั้น เพราะ MS ให้ Silvelight เป็น Platform หลักในการพัฒนา ถ้าไม่มี WP7 นายก็ตาย หรือไม่ Silverlight ก็อาจจะพา WP7 ตายไปพร้อมกันด้วยก็ได้
เรื่องของแอนดรอยด์
  1. แอนดรอยด์พัฒนาอยู่บน Linux version 2.6
  2. ภาษาหลักที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบนแอนดรอยด์คือ Java
  3. Java Virtual Machine ที่ใช้เป็น Run Time บนแอนดรอยด์ไม่ได้ใช้ JVM มาตรฐานจาก Oracle แต่ใช้ Dalvik VM
  4. เราสามารถพัฒนาโปรแกรมบนแอนดรอยด์โดยใช้ c/c++ เพื่อให้ได้โปรแกรมแบบ Native ได้เช่นกัน
  5. Web Browser หลักบนแอนดรอยด์ใช้เอนจิน Webkit
  6. ชื่อรุ่นของแอนดรอยด์จะใช้ชื่อรหัสเป็นชื่อขนมหวาน
  7. การสมัครเป็น Android Developer  จะเสียค่าสมัคร 25 USD (จ่ายครั้งเดียว)
  8. ส่วนแบ่งรายได้ระหว่างผู้พัฒนากับแอนดรอยด์มาร์เก็ต คือ 70/30
  9. การซื้อแอ๊ปบนแอนดรอยด์มาร์เก็ต ต้องใช้ผ่าน Google Checkout เท่านั้น
  10. แอนดรอยด์เป็นโอเพนซอร์ส ใครอยากเอามาทำเองก็ย่อมได้
ลูกหินต้องศึกษาและพัฒนาสิ่งต่อไปนี้ (บอกตัวเอง)
  1. Android
  2. Windows Phone 7
  3. Cloud Computing (ต้องทำโปรเจคที่รันบน Cloud Computing อย่างน้อย 1 ตัวในปีนี้)
    มีตัวเลือกให้เล่นอยู่ 3 ตัว แต่ได้ลอง Google App Engine ไปแล้ว และตัวอื่นควรศึกษาเพิ่ม
    – Google App Engine (กำลังเลือกว่าจะใช้ Java หรือ Python คาดว่าจะใช้ Python)
    – Amazon EC2
    – Microsoft Windows Azure
  4. HTML5, CSS, JS (ยังยืนยันแนวคิดเดิมว่า HTML5 จะเติบโตจากอุปกรณ์ประเภท Mobile ก่อนก้าวไปยัง Desktop และหมดยุครุ่งเรื่องของ Desktop แล้ว)
  5. NoSQL คิดว่าจะเริ่มที่ MongoDB  จากนั้นค่อยไปต่อยอดที่ Apache Cassandra
ว่าด้วย \r และ \n
การขึ้นบรรทัดใหม่ของ Text File ในระบบคอมพิวเตอร์จะใช้รหัส \r หรือไม่ก็ \n หรือไม่ก็ \r\n ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการ
  • UNIX / Linux ใช้ “\n
  • Mac OS ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรกจนถึง Mac OS Version 9 จะใช้ “\r
  • Mac OSX มีต้นตระกูลเป็น UNIX ดังนั้นก็ใช้ “\n
  • Microsoft Windows ใช้ “\r\n

 

]]>
https://www.unzeen.com/article/1384/feed/ 0
การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือแอนดรอยด์ผ่าน USB และ Wi-Fi https://www.unzeen.com/article/1224/ https://www.unzeen.com/article/1224/#comments Sun, 24 Jul 2011 07:14:20 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1224 การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือแอนดรอยด์ไปยังคอมพิวเตอร์สามารถทำได้อยู่ 2 วิธีง่ายๆ คือใช้ผ่าน USB หรือไม่ก็ใช้ผ่าน Wi-Fi ง่ายทั้งสองวิธีและไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแต่อย่างใด เหมาะที่จะเอาไปใช้เวลากลับบ้านต่างจังหวัด ถึงความเร็วอินเตอร์เน็ตบนมือถือในบ้านเราจะช้า แต่อย่างน้อยก็พอแก้ขัดไปได้บ้างเวลาจำเป็นต้องใช้จริงๆ บทความนี้ทดสอบบน WellcoM A99 , Android Version 2.3.4

เริ่มแรกมาลองแชร์ผ่าน USB กันก่อนง่ายดี

1. ทำการต่อสาย USB ระหว่างมือถือแอนดรอยด์กับคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อย

2. เลือก Settings

Share Internet From Android To Computer 1

3. จากนั้นเลือกไปที่ Wireless & networks
Share Internet From Android To Computer 2

4. เลือก Tethering & portable hotspot
Share Internet From Android To Computer 3

5. คลิกถูกที่ USB tethering แค่นี้คอมพิวเตอร์ก็เล่นอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ^^
Share Internet From Android To Computer 4

ต่อไปเรามาลองแชร์ผ่าน Wi-Fi กันดูบ้าง

1. ในหน้า Tethering & portable hotspot ให้คลิกถูกที่ Portable Wi-Fi hotspot เมื่อ Wi-Fi Active แล้วให้เลือกที่ Portable Wi-Fi hotspot settings
Share Internet From Android To Computer 5

2. จากนั้นเลือกไปที่ Configure Wi-Fi hotspot เพื่อตั้งชื่อ Network SSID
Share Internet From Android To Computer 6

3. ตั้งชื่อ Network SSID ให้เรียบร้อย ตั้งอะไรก็ได้ตามใจเรา
Share Internet From Android To Computer 7

4. กลับไปที่คอมพิวเตอร์ของเรา ให้ทำการสแกนหา Wireless Networks จะพบว่ามีชื่อ SSID ที่เราตั้งไว้ขึ้นมาให้เห็นแล้ว จากนั้นทำการ connect ไปยัง SSID ที่เราได้ตั้งเอาไว้ เท่านี้เราก็เรียบร้อย ^^
Share Internet From Android To Computer 8

]]>
https://www.unzeen.com/article/1224/feed/ 2
ขั้นตอนการ root เครื่อง android https://www.unzeen.com/article/1206/ https://www.unzeen.com/article/1206/#comments Sun, 10 Jul 2011 02:37:08 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1206 ขั้นตอนการ root เครื่อง android วิธีที่ง่ายที่สุดก็ใช้โปรแกรม SuperOneClick ซึ่งหาได้ทั่วๆไปในอินเตอร์เน็ท ยากกว่านี้ขึ้นมาหน่อยก็ต้องทำการ copy file su และ file Superuser.apk ไปไว้ใน system ของ android ซึ่งต้องทำบน Linux และบทความนี้เราก็จะใช้แบบนี้ (คิดว่าบน UNIX สายอื่นๆก็น่าจะทำได้เหมือนกันแต่ไม่ได้ลอง)

0. ทำการเปิดเครื่องคอมฯ ที่ติดตั้ง Linux ตระกูลอะไรก็ได้ขึ้นมาก่อน ในที่นี้ผมใช้ Debian Wheezy/sid

1. ทำการดาวน์โหลดไฟล์ su และ Superuser.apk จากที่นี้ไปก่อนเลย Android-Root.zip

2. จากนั้นทำการ unzip ซะก่อน ซึ่งของผมก็จะ unzip ไว้ที่ /home/lookhin/Downloads/Android-Root/

3. ทำการปิดและเปิดมือของเราให้เข้าดาว์โหลดโหมด โดยของ WellcoM A99 ทำได้โดยกดปุ่ม Power + Volume Up (ยีห้ออื่นทำยังไงไม่รู้)

4. เมื่อขึ้นข้อความ Incoming Download Mode อย่างในรูปก็ให้ทำการต่อสาย USB จากมือถือเข้าคอมฯ ได้เลย
Android Root

3. จากนั้นทำการ copy file su และ Superuser.apk ไปไว้ใน system ของ android ด้วยคำสั่งต่อไปนี้

# cp /home/lookhin/Download/Android-Root/su /media/system/xbin/
# chown 0 /media/system/xbin/su
# chmod 6755 /media/system/xbin/su
# cp /home/lookhin/Download/Android-Root/Superuser.apk /media/system/app/
# chown 0 /media/system/app/Superuser.apk
# chmod 6755 /media/system/app/Superuser.apk

Android Root

5. ทำการ ปิด-เปิด มือถือขึ้นมาใหม่อีกรอบ ผมเองหาวิธีปิดไม่ได้ก็ถอดแบ็ตออกซะเลย ส่วนคอมฯ ก็ปิดไปเลยไม่ได้ใช้แล้ว

6. และแล้วเราก็ได้ android ที่ผ่านการ root เรียบร้อย สังเกตุว่ามีโปรแกรม Superuser ขึ้นมาแล้ว
Android Root

7. แล้วเรา root เพื่ออะไร ? ก็เพื่อให้ได้สิทธิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในระบบ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้ใช้มันก็ตาม

]]>
https://www.unzeen.com/article/1206/feed/ 3
android:screenOrientation อยากตั้งก็ตั้งอยากนอนก็นอน https://www.unzeen.com/article/1157/ https://www.unzeen.com/article/1157/#respond Sat, 23 Apr 2011 03:13:59 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1157 ปกติแล้วเวลาที่เราพลิกหน้าจอของมือถือให้อยู่ในแนวตั้งหรือแนวนอน โปรแกรมที่เราสร้างขึ้นมาก็จะพลิกตามไปด้วย แต่หากบางทีเราไมได้ต้องการให้มันพลิกตามไปกับหน้าจอด้วยจะทำยังไงดี การเขียนโปรแกรมบนแอนดรอยด์สามารถกำหนดได้ว่าจะให้แสดงในแนวตั้งหรือแนวนอนได้ง่ายๆ ด้วยการเพิ่ม android:screenOrientation=”landscape” หรือ android:screenOrientation=”portrait” เข้าไปใน AndroidManifest.xml ง่ายมักๆ

ลองดูตัวอย่างสักตัวอย่างดีกว่า เริ่มด้วยการสร้างแอนดรอยด์โปรเจคขึ้นมาใหม่สักอันหนึ่งก่อน

ทำการเปิด AndroidManifest.xml และเพิ่ม android:screenOrientation=”landscape” เข้าไปในส่วนของ activity

จะได้ AndroidManifest.xml ออกมาหน้าตาประมาณนี้



    
        
            
                
                
            
        

    
    
 

ในตัวอย่างนี้เราจะแสดงรูป Wall-E กับ Eve โดยให้ทำการสร้างโฟล์เดอร์ drawable เอาไว้ใน res และทำการ copy รูปไปไว้ในนั้น

# wall_e_icon.png

# eve_icon.png

ต่อไปทำการแก้ไข res -> layout -> main.xml โดยให้เพิ่ม ImageView เพื่อที่จะใช้แสดงรูปสองรูป

# main.xml




	
	
	
	

เรียบร้อยแล้วทดสอบโปรแกรมได้

# android:screenOrientation=”landscape”

# android:screenOrientation=”portrait”

Download Source Code ทั้งหมดได้จาก https://www.unzeen.com/download/android/EasyScreenOrientation.zip

]]>
https://www.unzeen.com/article/1157/feed/ 0
การ Embed HTML ลงใน Addroid Package .apk https://www.unzeen.com/article/1124/ https://www.unzeen.com/article/1124/#respond Fri, 15 Apr 2011 05:41:41 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1124 บทความก่อนหน้านี้ได้ทดลองนำ WebView มาใช้กันบ้างแล้ว และเป็นการใช้ WebView เรียกไปยัง website ข้างนอก แต่หากว่าเราต้องการจะนำ HTML ยัดลงไปในโปรเจคด้วยนี้จะทำยังไง โปรแกรมบางโปรแกรมเราไม่ได้ต้องการใช้ความสามารถของเครื่องอะไรมากนัก เราสามารถที่จะใช้ HTML และ JavaScript สร้างมันขึ้นมาได้ไม่ยาก และสำหรับคนที่ทำ website เป็นงานหลักอย่างผมแล้วเนี้ย มันดูจะประหยัดเวลามากกว่าการเขียนทั้งหมดด้วย Java เพียงอย่างเดียวซะอีก ^^

เริ่มด้วยการสร้างโปรเจคขึ้นชื่อ “EasyEmbedHTML”

EasyEmbedHTML

จากนั้นเข้าไปที่ res -> layout -> main.xml และทำการเพิ่ม WebView เข้าไปในโปรเจคโดยกำหนด properties ของ WebView ดังนี้

# WebView01
   - Layout width : fill_parent
   - Layout height : fill_parent

# main.xml




	
	


ต่อไปทำการสร้างโฟลเดอร์ www ไว้ข้างใน assets และนำไฟล์ HTML และรูปที่เราจะใช้มาไว้ในโฟลเดอร์นี้

EasyEmbedHTML

# page1.html





EasyEmbedHTML





# page2.html





EasyEmbedHTML





# wall-e-icon.png

EasyEmbedHTML

# eve-icon.png

EasyEmbedHTML

ทำการเปิด EasyEmbedHTML.java ขึ้นมาและทำการแก้ไขดังนี้ (ผมจะไม่อธิบายตัวโปรแกรมนะครับ เพราะส่วนใหญ่ได้อธิบายไว้ในบทความก่อนๆหมดแล้ว)

# EasyEmbedHTML.java

package com.LookHin.EasyEmbedHTML;

import android.app.Activity;
import android.os.Bundle;
import android.webkit.WebView;
import android.webkit.WebViewClient;

public class EasyEmbedHTML extends Activity {
    /** Called when the activity is first created. */
    @Override
    public void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
        super.onCreate(savedInstanceState);
        setContentView(R.layout.main);
        
        // สร้าง WebView
    	WebView  mWebView = (WebView) findViewById(R.id.WebView01);
    	mWebView.getSettings().setJavaScriptEnabled(true);
    	mWebView.setWebViewClient(new EasyWebViewClient());
    	mWebView.loadUrl("file:///android_asset/www/page1.html");
    }
    
    // Extend Class WebViewClient เพื่อให้คลิก Link ต่างๆแล้วยังคงอยู่หน้าเดิม
    private class EasyWebViewClient extends WebViewClient {
        @Override
        public boolean shouldOverrideUrlLoading(WebView view, String url) {
            view.loadUrl(url);
            return true;
        }
    }
}

เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ทำการทดสอบโปรแกรมได้เลย ^^

EasyEmbedHTML

EasyEmbedHTML

Download Source Code ทั้งหมดได้จาก https://www.unzeen.com/download/android/EasyEmbedHTML.zip

บทความนี้แนะนำเพียงเบืองต้น หากท่านสนใจที่จะนำไปใช้ทำโปรแกรมอย่างจริงจัง เราแนะนำให้ใช้ PhoneGap http://www.phonegap.com/ เพราะว่าเป็น Framework ที่จัดเตรียมทุกอย่างไว้ให้เราแล้ว เราไม่ต้องเขียนเองทั้งหมด

]]>
https://www.unzeen.com/article/1124/feed/ 0
ใส่ไอคอนให้กับโปรแกรมเพื่อสร้างความแตกต่าง https://www.unzeen.com/article/1115/ https://www.unzeen.com/article/1115/#respond Wed, 16 Mar 2011 17:07:13 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1115 หลังจากได้ทดลอง deploy project ขึ้น android market ไปแล้ว พึ่งสังเกตเห็นว่าตัวเองลืมเปลียน icon ของโปรแกรมซะงั้น แล้วจะเปลียนยังไงหละเนีย เท่าที่ลองหาดู icon ที่เราจะใช้กับ android จะมีด้วยกันอยู่ 3 ขนาด เพื่อใช้กับความละเอียดของจอในแต่ละแบบ โดยมีขนาด 36 * 36 px , 48 * 48 px และ 72 * 72 px

หน้าตาของ Default Icon เขียวๆแบบนี้หละ แต่เดียวเราจะเปลียนมัน

android-icon

การเปลียนไอคอน ง่ายๆก็คือ เราต้องทำไอคอน ขึ้นมาทั้งหมด 3 ขนาด (เพื่อให้โปรแกรมเลือกใช้กับความละเอียดของแต่ละหน้าจอ อันนี้เราไม่ต้องจัดการอะไรเดียว android จะจัดการให้เราเอง เราไม่ต้องสนใจ) โดยไอคอน ทั้ง 3 ขนาดจะมีขนาดต่างๆ ดังนี้

1. 36 * 36 px ใช้กับจอ Low density screen
2. 48 * 48 px ใช้กับจอ Medium density screen
3. 72 * 72 px ใช้กับจอ High density screen

โดยไอคอน ทั้งหมดให้ save เป็น .png (ใช้เป็นนามสกุลอื่นได้หรือเปล่าไม่แน่ใจ ไม่ได้ลอง ใครว่างก็ลองกันเองนะ ได้ความยังไงก็บอกกล่าวกันด้วย)

จากนั้นบันทึกไอคอนแต่ละขนาดไว้ใน folder ต่อไปนี้

1. icon ขนาด 36 * 36 px เก็บไว้ที่ /res/drawable-ldpi/
2. icon ขนาด 48 * 48 px เก็บไว้ที่ /res/drawable-mdpi/
3. icon ขนาด 72 * 72 px เก็บไว้ที่ /res/drawable-hdpi/

android-icon

เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ทำการ build และ depoy อีกครั้ง จะเห็นว่าโปรแกรมของเรามีไอคอนเป็นของตัวเองแล้ว จบ…

android-icon

]]>
https://www.unzeen.com/article/1115/feed/ 0
ขั้นตอนการสร้างไฟล์ .apk จาก Eclipse และนำขึ้นสู่ Android Market https://www.unzeen.com/article/1096/ https://www.unzeen.com/article/1096/#respond Mon, 14 Mar 2011 17:42:38 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1096 ปล่อยให้ blog ร้างไปซะหลายเดือน ด้วยหน้าที่การงานมากมาย เรื่องที่อยากจะเขียนบางเรื่องก็ยังไม่ได้เขียน วันนี้พอมีเวลานิดหน่อย เรามาดูวิธีการสร้างไฟล์ .apk เพื่อจะได้นำขึ้นไปไว้บน Android Market กันหน่อยดีกว่า

เริ่มแรกต้องสมัครเป็น developer ซะก่อน ให้เข้าไปที่ http://market.android.com/publish/signup โดยต้องเสียค่าสมัคร $25.00 USD และจ่ายเงินผ่าน “Google Checkout”

เมื่อเราได้ทำการสมัครเป็น developer สมใจอยากแล้ว ขึ้นตอนต่อไปก็มาถึงการสร้างไฟล์ .apk โดยโปรเจคที่เราจะเอาขึ้น Android Market เราจะใช้โปรเจคจากบทความก่อนๆ ที่ได้ทำไว้เมื่อปลายปีที่แล้ว และนั้นก็คือ “เครื่องคิดเลข Android StackCalculator”

อย่างแรกเปิด Eclipse ขึ้นมาก่อน จากนั้นทำการคลิกขวาที่ชื่อโปรเจคของเรา แล้วเลือกไปที่ Android Tools -> Export Signed Application Package
publish-apk-to-android-market

จะเห็นว่ามีชื่อโปรเจคที่เราต้องการจะ export แสดงออกมาให้แล้ว ถ้าไม่ใช่ก็คลิก browse เพื่อเลือกตัวที่ต้องการ จากนั้นก็ Next ไปตามระเบียบ
publish-apk-to-android-market

ทำการเลือกไปที่ Create new keystone และใส่รหัสผ่านที่เราต้องการลงไป
publish-apk-to-android-market

ทำการใส่รหัสผ่านและทำการยืนยันอีกรอบ พร้อมทั้งระบุอายุของคีย์นี้ด้วยว่าจะให้มีอายุกี่ปี กำหนดไว้ 100 ปีเลยทีเดียว และใส่ชื่อของเราผู้เป็นคนสร้างลงไปสักหน่อย จะได้เป็นเกียติประวัติกับวงตระกูล
publish-apk-to-android-market

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเลือก folder ที่จะทำการบันทึกไฟล์ .apk ถ้าไม่แก้ไขอะไรก็คลิก Finish เป็นอันเสร็จพิธี

publish-apk-to-android-market

ต่อไปก็ถึงขั้นตอนการ upload ขึ้น Android Market เริ่มด้วยการเข้าไปที่ https://market.android.com/publish ทำการ Login ให้เรียบร้อย เมื่อ login เข้าไปแล้วก็คลิกที่ Upload Application

publish-apk-to-android-market

ทำการ upload ไฟล์ .apk และรูปหน้าจอตัวอย่างของโปรแกรมเรา 2 รูป ขนาด 320 x 480 และไอคอนของโปรแกรมขนาด 512 x 512 จากนั้นใส่ข้อมูลในส่วนของ Title และ Description อีกเล็กน้อย เมื่อใส่ข้อมูลทุกอย่างเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ คลิก Publish เพียงเท่านี้เราก็ได้ช่วยสร้างแอ๊บขยะให้กับ Android Market ขึ้นอีกหนึ่งโปรแกรมแล้ว – -”

publish-apk-to-android-market

กลับมาในหน้าแรกจะเห็นว่าโปรเจคของเราถูก Publish ขึ้น Android Market เรียบร้อยแล้ว

publish-apk-to-android-market

เพื่อความแน่ใจลองค้นหา StackCalculator หรือ LookHin จาก Android Market ดูสักหน่อยก็ได้ https://market.android.com/search?q=LookHin&c=apps&pli=1

publish-apk-to-android-market

ที่เขียนมาก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เริ่มต้นบ้าง ^^

]]>
https://www.unzeen.com/article/1096/feed/ 0