Hardware/Network – DevExperience https://www.unzeen.com :// Sun, 17 Nov 2019 03:10:35 +0000 en-US hourly 1 การดักจับข้อมูลที่วิ่งเข้าออกบน HTTP/HTTPS จากแอพในมือถือ Android โดยใช้ Burp Suite https://www.unzeen.com/article/3479/ https://www.unzeen.com/article/3479/#respond Wed, 22 Feb 2017 15:14:39 +0000 https://www.unzeen.com/?p=3479 บทความนี้จะแสดงตัวอย่างการดักจับข้อมูลจากแอพในมือถือ Android ที่รับส่งไปยังเซิฟเวอร์ทั้งบน HTTP และ HTTPS โดยเราจะทดสอบกับแอพของไปรษณีย์ที่ใช้สำหรับตรวจสอบสถานะการส่งพัสดุ Thailand Post Track & Trace เพื่อให้เห็นว่ามีการส่งข้อมูลอะไรออกไปที่เซิฟเวอร์บ้าง โดยในการทดลองนี้จะทำกับแอพที่ใช้ certificate ของระบบเท่านั้น ส่วนแอพอย่างของ facebook หรือ instagram เขาจะมี certificate ของตัวเองที่ฝั่งมากับแอพทำให้เราไม่สามารถหลอกโปรแกรมได้ หรืออาจจะยืนยัน CA ว่าเป็น CA จริงหรือไม่ผ่านทาง DNS อีกที (ผมเข้าใจว่าอย่างนั้นนะ อันนี้ไม่แน่ใจ เดียวผมไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาก่อน)

ในการทดลองการดักจับข้อมูลครั้งนี้ เราจะให้ทั้งคอมฯ และมือถือต่ออยู่ใน Wi-Fi เน็ทเวิร์คเดียวกัน โดยเราจะใช้ Burp Suite Free Edition ซึ่งสามารถหาดาวน์โหลดได้จาก Burp Suite Free Edition เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น proxy แต่ผมไม่ลงวิธีการติดตั้งนะครับตัวใครตัวมัน

หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดโปรแกรม Burp Suite Free Edition และเข้าไปที่แท็บ Proxy -› Options และเลือก Add เพื่อตั้ง proxy ใหม่

burp suite proxy

ทำการกำหนด Bind to port เป็น 8089 (ปกติก็คงเป็น 8080 แต่พอดีผมใช้มันไปทำอย่างอื่นแล้ว) และเลือก Bind to address เป็น All interfaces เมื่อใส่ค่าทุกอย่างเรียบร้อยก็คลิก OK

burp suite proxy

Windows Firewall จะขึ้นมาถามยืนยันการใช้งานพอร์ทให้กด Allow access

burp suite proxy

ถ้าในช่อง Running ในส่วนของ proxy ที่เราสร้างไว้ยังไม่ถูกติ๊กเป็นเครื่องหมายถูก ก็ติ๊กให้มันทำงานด้วยครับ

burp suite proxy

และในแท็บ Intercept ให้เลือก Intercept เป็น Off

burp suite proxy

จากนั้นมาที่มือถือ Android โดยให้เข้าไปที่ Setting -› Wi-Fi กดค้างที่ Wi-Fi ที่เราต่อเอาไว้แล้วเลือก Modify network

burp suite proxy

เลือก Show Advanceed options ติ๊กเลือก Show advance options และเลือก Proxy เป็น Manual และใส่ค่าต่างๆ ดังนี้

Proxy hostname = ให้ใส่ IP ของเครื่องคอมฯ ที่เราติดตั้ง Burp Suite ไว้
Proxy port = ใส่หมายเลข port ที่เรากำหนดไว้ใน Burp Suite

จากนั้นกด Connect

burp suite proxy

ขั้นตอนถัดไปคือการติดตั้ง CA Certificate ของ Burp Suite ลงในเครื่อง Android ให้เราพิมพ์ URL http://burp บนบราวเซอร์ของ Android และคลิกที่ปุ่ม CA Certificate เพื่อทำการดาวน์โหลด เมื่อทำการดาวน์โหลดมาแล้วจะได้ไฟล์ชื่อ cacert.der ให้ทำการเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์เป็น cacert.cer

burp suite proxy

ทำการติดตั้ง CA Certificate โดยเข้าไปที่ Setting -› Advanced settings -› Security และเลือก Install from SD card

burp suite proxy

เลืกไฟล์ cacert.cer และทำการตั้งชื่อ Cartificate name

burp suite proxy

ที่หน้า Setting -› Advanced settings -› Security คลิกที่แท็บ Trusted credentials และเลือกแท็บ User จะเห็นว่ามี CA Certificate ใหม่ของเราติดตั้งไว้แล้ว เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

burp suite proxy

ต่อไปมาเริ่มทำการทดสอบกันเลยครับ ว่ามันสามารถดักข้อมูลที่วิ่งผ่าน HTTP/HTTPS ได้จริงไหม โดยให้เปิดบราวเซอร์และพิมพ์ url ที่เป็น HTTPS ลงไป ในตัวอย่างก็เทสจากเว็บผมเองนี้หละ จะเห็นว่า HTTPS ก็ยังเป็นสีเขียวอยู่

burp suite proxy

กลับมาดูที่หน้า Burp Suite ในแท็บ HTTP history จะเห็นว่ามีข้อมูลที่วิ่งไปยังเว็บของเราแล้ว

burp suite proxy

ทีนี้ลองเปิดแอพบน Android ขึ้นมาครับ ตัวอย่างนี้ผมเลือกใช้แอพของไปรษณีย์เพราะอยากรู้ว่าเขาส่งข้อมูลไปตรวจสอบสถานะของพัสดุที่ไหน โดยลองกรอกรหัสที่ใช้ตรวจสอบพัสดุ EMS ลงไปดูนะครับ หรือหากใครจะลองแอพตัวอื่นก็ได้เช่นกัน เอาจากของไทยๆก่อนนี้หละครับ ง่ายดี

burp suite proxy

กลับมาดูที่หน้า HTTP history จะเห็นว่ามีข้อมูลวิ่งที่ยังเซิฟเวอร์ของไปรษณีย์ไทยแล้วครับ (อ้าว มี username กับ password ติดมาด้วย อันนี้ไม่ได้ตั้งใจ อยู่นอกเหนือจากที่ผมคิดไว้ ฮาาา)

burp suite proxy

]]>
https://www.unzeen.com/article/3479/feed/ 0
การเขียนโปรแกรมลงบน Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266) https://www.unzeen.com/article/3407/ https://www.unzeen.com/article/3407/#comments Mon, 06 Feb 2017 00:11:04 +0000 https://www.unzeen.com/?p=3407 ภายในของ Sonoff WiFi Smart Switch ก็เป็น ESP8266 ที่ต่อกับรีเลย์เพื่อใช้ควบคุมการเปิดปิดของวงจรไฟฟ้า โดยสามารถใช้งานกับไฟบ้านที่แรงดัน 90-250v AC(50/60Hz) รับกระแสได้สูงสุด 10A เพียงพอสำหรับการเอามาใช้สำหรับเปิดปิดหลอดไฟทั่วๆ ไป ราคาประมาณ 280-300 บาท ซึ่งทางผู้ผลิตเขาก็มีแอพชื่อ eWeLink เอาไว้ให้เราโหลดมาใช้ควบคุมตัวสวิตซ์ตัวนี้ได้อยู่แล้วแหละ แต่ว่ามันก็ใช้แค่เปิดปิดกับตั้งเวลาได้เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ตรงกับความต้องการของเรา ความต้องการของเราคือต้องการทำให้หลอดไฟจุดทุกในบ้านสามารถควบคุมได้ผ่านระบบควบคุมกลางคือ Raspberry Pi 3 (แต่ในบทความนี้จะพูดถึงแค่การเขียนโปรแกรมลงบน ESP8266 ของ Sonoff WiFi Smart Switch เท่านั้นนะครับ)

หลังจากไปหาซื้อมาแล้วก็แกะกล่อง ใช้ไขขวงดันๆ เดียวมันก็หลุดออกมาครับ (หลุดพร้อมประกัน)

Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266)

ตรงกลางๆ ของแผ่นวงจรจะเห็นมีรูให้บัดกรีขาอยู่ 5 ขา ให้เอาก้างปลามาบัดกรีให้เรียบร้อย (ถ้าเป็นรุ่นก่อนหน้านี้จะมีอยู่ 4 ขา ซึ่งจริงๆ เราก็ใช้แค่ 4 ขานั้นหละ ส่วนขาที่ 5 เป็น GPIO14 เผื่อว่าเราอยากต่อเซ็นเซอร์อะไรเพิ่มเติม) โดยถ้ามองจากด้านบนจะมีตำแหน่งของขาต่างๆ ดังนี้

GPIO14
GND
TX
RX
VCC 3.3V

Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266)

เมื่อบัดกรีขาต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการต่อ Sonoff กับ USB To UART เพื่อทำการเขียนโปรแรกมลงไป โดยให้ต่อขาต่างๆ ดังนี้

[Sonoff] --> [USB To UART]
VCC --> VCC (3.3V)
RX --> TX
TX --> RX
GND -->GND

Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266)

หลังจากต่อวงจรเสร็จเรียบร้อยให้ทำการกดสวิตซ์สีดำค้างเอาไว้ และเสียบสาย USB เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำการโปรแกรม (ต้องกดค้างก่อนเสียบสายด้วยนะครับ สำคัญมากๆ) โดยให้เขียนโค้ดต่างๆ ดังนี้

โดยให้ใส่ SSID และ Password ของ WI-FI ของเราลงไป และเราจะเขียนโปรแรกมให้ฟิกค่า IP ของอุปกรณ์เอาไว้เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งาน (คงไม่สะดวกแน่ๆ ถ้าจะให้มันรับ DHCP เข้ามา) ดาวน์โหลดโค้ดตัวอย่าง

const char* ssid = "WIFI_SSID";
const char* password = "WIFI_PASSWORD";

const IPAddress ip(192, 168, 1, 100); // IP ของอุปกรณ์ตัวนี้ 192.168.1.100
const IPAddress subnet(255, 255, 255, 0);
const IPAddress gt(192, 168, 1, 1);
#include 
#include 

const char* ssid = "WIFI_SSID";
const char* password = "WIFI_PASSWORD";

const IPAddress ip(192, 168, 1, 100);
const IPAddress subnet(255, 255, 255, 0);
const IPAddress gt(192, 168, 1, 1);

const int SwitchPin = 12; // GPIO12
int SwitchValue = HIGH;

ESP8266WebServer server(80);

void handleNotFound(){
  //server.send(404, "text/plain", "404 Not Found");

  if(SwitchValue == HIGH) {
    server.send(200, "text/plain", "ON");
  }else{
    server.send(200, "text/plain", "OFF");
  }

  delay(1000);
}

void setup(void){

  // Set Output PIN
  pinMode(SwitchPin, OUTPUT);
  digitalWrite(SwitchPin, SwitchValue);

  // Connect WiFi
  WiFi.mode(WIFI_STA);
  WiFi.config(ip, gt, subnet);
  WiFi.begin(ssid, password);

  // Wait for connection
  while(WiFi.status() != WL_CONNECTED){
    delay(1000);
  }

  server.on("/", [](){
    if(SwitchValue == HIGH) {
      server.send(200, "text/plain", "ON");
    }else{
      server.send(200, "text/plain", "OFF");
    }

    delay(1000);
  });

  server.on("/ON", [](){
    SwitchValue = HIGH;

    server.send(200, "text/plain", "ON");
    digitalWrite(SwitchPin, SwitchValue);
    delay(1000);
  });

  server.on("/OFF", [](){
    SwitchValue = LOW;

    server.send(200, "text/plain", "OFF");
    digitalWrite(SwitchPin, SwitchValue);
    delay(1000);
  });

  server.onNotFound(handleNotFound);

  server.begin();
}

void loop(void){
  server.handleClient();
}

เพื่อความสะดวกในการนำไปติดตั้งใช้งานจริง เราจะหาแม่เหล็กกระดุมมาติดกับฐานของบอร์ทเอาไว้ เพื่อจะได้เอาไปติดกับโคมไฟเพดานง่ายๆ หน่อย แม่เหล็กขนาดนี้หาซื้อได้จากคลองถมนะครับ ตัวละ 15 บาท แต่ถ้าใครไม่มีก็หาวิธีติดเอาเอง เอากาวสองหน้าก็ได้

Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266)

หลังจากอัพโหลดโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการประกอบทุกอย่างลงกล่องให้เหมือนเดิมและนำไปใช้งานได้ (ที่สำคัญให้ต่อสาย L กับ N ให้ถูกทั้งขาเข้าและขาออกด้วยนะครับ)

Sonoff WiFi Smart Switch (ESP8266)

ทดสอบสั่งเปิดปิดไฟ โดยเปิดบราวเซอร์และพิมพ์ IP ของ Sonoff WiFi Smart Switch ที่เราคอนฟิกไว้ตอนเขียนโปรแกรม ดังนี้

http://192.168.1.100/ON
http://192.168.1.100/OFF

ก่อนจบ: ข้อเสียอย่างหนึ่งของ Sonoff Smart Switch คือว่ามันใช้ Relay ธรรมดา ทำให้เวลาเปิดปิดวงจรจะมีเสียงนิดหน่อย ถ้าเป็นไปได้ผมว่าจะหา Solid State Relay มาเปลี่ยนอยู่ //แต่ก็แพง

]]>
https://www.unzeen.com/article/3407/feed/ 2
การสร้าง Telegram Bot สำหรับส่งข้อมูลแจ้งเตือนจาก ESP8266 https://www.unzeen.com/article/3383/ https://www.unzeen.com/article/3383/#respond Mon, 30 Jan 2017 00:12:22 +0000 https://www.unzeen.com/?p=3383 บทความนี้จะแสดงตัวอย่างการสร้าง Telegram Bot สำหรับส่งข้อมูลแจ้งเตือนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควบคุมด้วย ESP8266 อาจจะนำไปประยุกต์ใช้สำหรับทำวงจรแจ้งเตือนเมื่อมีผู้บุกรุกด้วยการนำ ESP8266 ไปต่อกับเซ็นเซอร์วัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตราโซนิค (Ultrasonic Distance Sensor) หรือเซ็นเซอร์อินฟราเรด (PIR Sensor) ซึ้งถ้ามีผู้บุกรุกก็จะให้ส่งข้อความแจ้งเตือนมายัง Telegram หรือจะนำไปต่อกับเซ็นเซอร์ตรวจจับควันก็แล้วแต่จินตนาการ

ขั้นตอนการทำก็แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
1. สร้าง Telegram Bot
2. เขียนโปรแกรมบน ESP8266 เพื่อส่งข้อความมายัง Telegram ของเรา (ในบทความนี้จะใช้ ESP-01 และใช้สวิตซ์เป็นอินพุต ในการใช้งานจริงให้เปลี่ยนจากสวิตซ์ไปเป็น PIR Sensor หรือหากว่าต้องการรับอินพุตที่เป็น Analog ให้เปลี่ยนไปใช้ ESP-07 หรือ ESP-12 ที่มีขา ADC มาให้นะครับ)

สำหรับการสร้าง Telegram Bot ให้เราทำการเพิ่ม @BotFather เป็นเพื่อนกับเราก่อน ซึ่งเราจะต้องสั่งให้ @BotFather สร้างบอทให้เรา (ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเขาไม่ให้ทำผ่านหน้าเว็บ แต่เขาให้ทำในนี้ก็ทำไปครับ)

TelegrameBot Allert From ESP 8266

เมื่อเพิ่ม @BotFather เป็นเพื่อนแล้ว เราจะเห็นคำสั่งต่างๆ ขึ้นมาให้เราใช้งาน ลองพิมพ์ /help ระบบจะแสดงคำสั่งต่างๆ ขึ้นมาให้

TelegrameBot Allert From ESP 8266

ทีนี้ให้เราสร้าง Bot โดยใช้คำสั่ง /newbot ซึ่งระบบจะให้เราใส่ชื่อที่จะใช้เรียกบอทของเรา และให้ใส่ username ของบอท ซึ่งตรง username นี้จะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่นและจะต้องลงท้ายด้วย bot เท่านั้น (ตัวอย่างผมจะใช้ชื่อบอทว่า SmartHomeABC123 และใช้ username ว่า SmartHomeABC123Bot) เมื่อสร้างเสร็จแล้วระบบจะแสดง Access Token ขึ้นมาให้เรา Token ตัวนี้จะใช้สำหรับการส่งข้อความนะครับ จดไว้ๆ

TelegrameBot Allert From ESP 8266

จากนั้นให้เราทำการเพิ่มบอท @SmartHomeABC123Bot เป็นเพื่อนของเราก่อน และลองทักมันไปสัก 1 ครั้ง จะเห็นว่าไม่มีอะไรขึ้นมา ไม่ต้องตกใจ อ่านข้อต่อไปครับ สิ่งที่เราต้องการไม่ได้ให้มันตอบกลับ แต่เราต้องการ ID ของเราเอง เพื่อใช้ในการส่งข้อความกลับ

TelegrameBot Allert From ESP 8266

จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งนี้ที่ browser หรือหากใครใช้ CURL เป็นก็ตามสะดวก ออ อย่าลืมเปลี่ยนตรงคำว่า <ACCESS_TOKEN> เป็น Access Token ของบอทตัวเองด้วยนะครับ

https://api.telegram.org/bot<ACCESS_TOKEN>/getUpdates

สำหรับฟอร์แมตของคำสั่งจะเป็น https://api.telegram.org/bot<ACCESS_TOKEN>/API_COMMAND นะครับ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ว่าเราสามารถสั่งอะไรได้บ้างจาก Link นี้ครับ https://core.telegram.org/bots/api

หลังจากสั่ง /getUpdates เราจะได้ข้อมูลของข้อความและ id ของผู้ส่ง ซึ่งเดียวเราจะใช้ id ตรงนี้ในการนำไปใช้ในการส่งข้อความจาก ESP8266 ต่อไป (ถ้าสั่ง /getUpdates แล้วไม่มีข้อมูลอะไรขึ้น ให้ลองพิมพ์ข้อความทักบอทของเราไปอีกรอบ บาททีเราอาจจะเว้นช่วงนานไปจนข้อความนั้นหมดอายุไปก่อน)

TelegrameBot Allert From ESP 8266

หลังจากนั้นลองทำการส่งข้อความจากบอทของเรากลับมาหาเราหน่อยโดยใช้คำสั่ง CURL ถ้าใครใช้ CURL ไม่เป็นหรือไม่ได้ลงไว้ก็ข้ามไปเลยครับ อันนี้ผมทำให้ดูเฉยๆ โดยเราจะส่งเป็นพารามิเตอร์ text และ chat_id เป็น method post เข้าไป

curl -X POST https://api.telegram.org/bot/sendMessage -d text="test test" -d chat_id="" -k

TelegrameBot Allert From ESP 8266

เย้ๆ ส่งข้อความได้แล้ว

TelegrameBot Allert From ESP 8266

ขั้นตอนถัดไป เรามาเขียนโปรแกรมเพื่อส่งข้อความบน ESP8266 กันต่อ โดยผมจะใช้ ESP-01 เป็นตัวทดสอบ โดยจะให้กดสวิตซ์บนบอร์ตแล้วให้ส่งข้อความออกไป อันนี้ไม่ยากลอกโค้ดแล้วไปทำความเข้าใจกันเอา

อย่ากแรกต่อวงจรตามนี้ก่อน โดยให้ต่อ ESP-01 เข้ากับ USB To UART เพื่อทำการเขียนโปรแกรมลงไป และต่อสวิตซ์แบบ pull-up เข้ากับขา GPIO-2 ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ตามนี้ครับ

[ESP-01] --> [USB To UART]
RX --> TX
TX --> RX
VCC --> VCC (3.3v)
CH_PD --> VCC (3.3v)
GNC --> GND
GPIO-0 --> GND
GPIO-2 --> ต่อ pull-up กับสวิตซ์

TelegrameBot Allert From ESP 8266

เขียนโค้ดบน Arduino และทำการ upload sketch เข้าไปที่ ESP-01 ที่เราต่อวงจรเตรียมเอาไว้ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ทดสอบกดสวิตซ์ ระบบจะทำการส่งข้อความมาหาเราที่ Telegram ของเราแล้วครับ (Download Source Code)

โดยจากโค้ดให้แก้บรรทัดดังต่อไปนี้ โดยให้ใส่ค่าต่างๆ ตามที่เราได้มาจากขั้นตอนก่อนหน้านี้นะครับ

const char* ssid = "WIFI_SSID";
const char* password = "PASSWORD123";
const String AccessToken = "";
String PostData = "text=แจ้งเตือน: สวิตซ์บน ESP8266 ถูกกด&chat_id=";
#include 
#include 

// WIFI SSID & Password
const char* ssid = "WIFI_SSID";
const char* password = "PASSWORD123";

// Telegram Server API
const int httpsPort = 443;
const char* host = "api.telegram.org";
const String AccessToken = "";

const int SwitchPin = 2; // GPIO2
int SwitchOldStatus = HIGH;
int SwitchNewStatus = HIGH;

void setup(void){
  Serial.begin(9600);

  pinMode(SwitchPin, INPUT);

  WiFi.mode(WIFI_STA);
  WiFi.begin(ssid, password);

  // Wait for connection
  while(WiFi.status() != WL_CONNECTED){
    delay(500);
  }
}

void loop(void){

  // Read Data From Switch
  SwitchNewStatus = digitalRead(SwitchPin);

  if(SwitchNewStatus == LOW && SwitchNewStatus != SwitchOldStatus){

    String PostData = "text=แจ้งเตือน: สวิตซ์บน ESP8266 ถูกกด&chat_id=";

    WiFiClientSecure client;
    Serial.print("connecting to ");
    Serial.println(host);

    if (!client.connect(host, httpsPort)) {
      Serial.println("connection failed");
      return;
    }

    // POST
    client.print(String("POST ") + "/bot" + AccessToken + "/sendMessage HTTP/1.1\r\n" +
             "Host: " + host + "\r\n" +
             "User-Agent: ESP8266-Notification\r\n" +
             "Content-Type: application/x-www-form-urlencoded\r\n" +
             "Cache-Control: no-cache\r\n" +
             "Content-Length: " + String(PostData.length()) + "\r\n" +
             "\r\n" +
             PostData);

    // Header
    Serial.println("-------Response Header-------");
    while (client.connected()) {
      String line = client.readStringUntil('\n');
      if (line == "\r") {
        break;
      }

      Serial.println(line);
    }

    // Body
    Serial.println("-------Response Body-------");
    String body = client.readStringUntil('\n');
    Serial.println(body);

  }

  SwitchOldStatus = SwitchNewStatus;
  delay(500);
}

หลังจากทำการ upload sketch ให้ลองเปิด Serial Monitor ขึ้นมาดู Log และทดสอบกดสวิตซ์ดูได้เลยครับ จะเห็นว่ามีข้อมูลถูกส่งออกไปยัง API ของ Telegram แล้ว

TelegrameBot Allert From ESP 8266

ขั้นต่อไปก็เอาไปใช้งานจริง ให้ถอดตัว USB To UART ที่เราใช้ upload sketch ออกและต่อวงจรดังรูป

[ESP-01] --> [Battery]
VCC --> VCC (3.3v)
CH_PD --> VCC (3.3v)
GNC --> GND
GPIO-2 --> ต่อ pull-up กับสวิตซ์

TelegrameBot Allert From ESP 8266

หมายเหตุ: ปกติผมจะส่งข้อมูลจากเซ็นเซอร์ไปยัง Raspberry Pi ที่ทำหน้าที่ควบคุมทั้งระบบก่อน แล้วค่อยส่งจาก Raspberry Pi ออกไปยัง service อื่นๆ ข้างนอกอีกทีนะครับ เพราะถ้าต้องมาแก้ไขข้อความหรือเปลียน Access Token ผมคงแก้ไขจากฝั่งของ Raspberry Pi น่าจะง่ายกว่ามานั้ง upload sketch ใหม่

]]>
https://www.unzeen.com/article/3383/feed/ 0
การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือแอนดรอยด์ผ่าน USB และ Wi-Fi https://www.unzeen.com/article/1224/ https://www.unzeen.com/article/1224/#comments Sun, 24 Jul 2011 07:14:20 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1224 การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือแอนดรอยด์ไปยังคอมพิวเตอร์สามารถทำได้อยู่ 2 วิธีง่ายๆ คือใช้ผ่าน USB หรือไม่ก็ใช้ผ่าน Wi-Fi ง่ายทั้งสองวิธีและไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแต่อย่างใด เหมาะที่จะเอาไปใช้เวลากลับบ้านต่างจังหวัด ถึงความเร็วอินเตอร์เน็ตบนมือถือในบ้านเราจะช้า แต่อย่างน้อยก็พอแก้ขัดไปได้บ้างเวลาจำเป็นต้องใช้จริงๆ บทความนี้ทดสอบบน WellcoM A99 , Android Version 2.3.4

เริ่มแรกมาลองแชร์ผ่าน USB กันก่อนง่ายดี

1. ทำการต่อสาย USB ระหว่างมือถือแอนดรอยด์กับคอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อย

2. เลือก Settings

Share Internet From Android To Computer 1

3. จากนั้นเลือกไปที่ Wireless & networks
Share Internet From Android To Computer 2

4. เลือก Tethering & portable hotspot
Share Internet From Android To Computer 3

5. คลิกถูกที่ USB tethering แค่นี้คอมพิวเตอร์ก็เล่นอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ^^
Share Internet From Android To Computer 4

ต่อไปเรามาลองแชร์ผ่าน Wi-Fi กันดูบ้าง

1. ในหน้า Tethering & portable hotspot ให้คลิกถูกที่ Portable Wi-Fi hotspot เมื่อ Wi-Fi Active แล้วให้เลือกที่ Portable Wi-Fi hotspot settings
Share Internet From Android To Computer 5

2. จากนั้นเลือกไปที่ Configure Wi-Fi hotspot เพื่อตั้งชื่อ Network SSID
Share Internet From Android To Computer 6

3. ตั้งชื่อ Network SSID ให้เรียบร้อย ตั้งอะไรก็ได้ตามใจเรา
Share Internet From Android To Computer 7

4. กลับไปที่คอมพิวเตอร์ของเรา ให้ทำการสแกนหา Wireless Networks จะพบว่ามีชื่อ SSID ที่เราตั้งไว้ขึ้นมาให้เห็นแล้ว จากนั้นทำการ connect ไปยัง SSID ที่เราได้ตั้งเอาไว้ เท่านี้เราก็เรียบร้อย ^^
Share Internet From Android To Computer 8

]]>
https://www.unzeen.com/article/1224/feed/ 2
Domain Name บนโลกนี้ใช้ dot (.) อะไรได้บ้าง มาดูกัน https://www.unzeen.com/article/683/ https://www.unzeen.com/article/683/#comments Mon, 04 Jan 2010 16:58:49 +0000 http://www.unzeen.com/?p=683 Domain name ที่มีให้ใช้ในโลกนี้ยังมีอีกหลายตัวที่เดียว แล้วแต่ว่าใครจะคิดไปจดไปจอง ซึ่งโดยปกติที่เห็นกันจนชินตาก็มี .com .net .org แต่ก็ยังมี dot อื่นๆ อีกหลายตัวที่น่าสนใจ ถ้าใครดูแล้วเห็น dot อันไหนน่าสนใจ คิดชื่อเท่ๆได้หละก็รีบไปจดไปจองกันไว้เลย ( ดองเอาไว้ก่อนว่างั้น )

แยกตามประเภทหน่วยงาน/องค์กร

gTLD Entity Notes
.aero air-transport industry Must verify eligibility for registration; only those in various categories of air-travel-related entities may register.
.asia Asia-Pacific region This is a TLD for companies, organizations, and individuals based in the region of Asia, Australia, and the Pacific.
.biz business This is an open TLD; any person or entity is permitted to register; however, registrations may be challenged later if they are not by commercial entities in accordance with the domain’s charter.
.cat Catalan This is a TLD for Web sites in the Catalan language or related to Catalan culture.
.com commercial This is an open TLD; any person or entity is permitted to register.
.coop cooperatives The .coop TLD is limited to cooperatives as defined by the Rochdale Principles.
.edu educational The .edu TLD is limited to accredited postsecondary institutions (nearly all 2 and 4-year colleges and universities in the U.S. and increasingly overseas, e.g., Australia and China).
.gov U.S. governmental The .gov TLD is limited to U.S. governmental entities and agencies (mostly but not exclusively federal).
.info information This is an open TLD; any person or entity is permitted to register.
.int international organizations The .int TLD is strictly limited to organizations, offices, and programs which are endorsed by a treaty between two or more nations.
.jobs companies The .jobs TLD is designed to be added after the names of established companies with jobs to advertise. At this time, owners of a “company.jobs” domain are not permitted to post jobs of third party employers.
.mil U.S. military The .mil TLD is limited to use by the U.S. military.
.mobi mobile devices Must be used for mobile-compatible sites in accordance with standards.
.museum museums Must be verified as a legitimate museum.
.name individuals, by name This is an open TLD; any person or entity is permitted to register; however, registrations may be challenged later if they are not by individuals (or the owners of fictional characters) in accordance with the domain’s charter.
.net network This is an open TLD; any person or entity is permitted to register.
.org organization This is an open TLD; any person or entity is permitted to register.
.pro professions Currently, .pro is reserved for licensed or certified lawyers, accountants, physicians and engineers in France, Canada, UK and the U.S. A professional seeking to register a .pro domain must provide their registrar with the appropriate credentials.
.tel Internet communication services
.travel travel and tourism industry related sites Must be verified as a legitimate travel-related entity.

 

แยกตามประเทศ/พื้นที่

cTLD Country/dependency/region Notes
.ac  Ascension Island
.ad  Andorra
.ae  United Arab Emirates
.af  Afghanistan
.ag  Antigua and Barbuda
.ai  Anguilla
.al  Albania
.am  Armenia
.an  Netherlands Antilles
.ao  Angola
.aq  Antarctica Defined as per the Antarctic
Treaty
as everything south of
latitude 60°S.
.ar  Argentina
.as  American Samoa
.at  Austria
.au  Australia Includes Ashmore and Cartier
Islands
and Coral Sea Islands.
.aw  Aruba
.ax  Åland
.az  Azerbaijan
.ba  Bosnia and Herzegovina
.bb  Barbados
.bd  Bangladesh
.be  Belgium
.bf  Burkina Faso
.bg  Bulgaria
.bh  Bahrain
.bi  Burundi
.bj  Benin
.bm  Bermuda
.bn  Brunei Darussalam
.bo  Bolivia
.br  Brazil
.bs  Bahamas
.bt  Bhutan
.bv  Bouvet Island Not in use (Norwegian
dependency; see .no).
.bw  Botswana
.by  Belarus
.bz  Belize
.ca  Canada Subject to Canadian Presence
Requirements (see .ca).
.cc  Cocos (Keeling) Islands (Australian territory: do not
confuse with Cocos islands in
Guam).
.cd  Democratic Republic

of the Congo

Formerly Zaire.
.cf  Central African Republic
.cg  Republic of the Congo
.ch  Switzerland (Confoederatio Helvetica,
Confédération helvétique)
.ci  Côte d’Ivoire
.ck  Cook Islands
.cl  Chile Domain registrations require local
presence in Chile.
.cm  Cameroon A local entity/company in
Cameroon is required to register
a domain name.
.cn  People’s Republic of China Registration allowed worldwide.
Hong Kong and Macau also
maintain TLDs.
.co  Colombia
.cr  Costa Rica
.cu  Cuba
.cv  Cape Verde
.cx  Christmas Island
.cy  Cyprus
.cz  Czech Republic
.de  Germany (Deutschland)
.dj  Djibouti
.dk  Denmark
.dm  Dominica
.do  Dominican Republic
.dz  Algeria (Dzayer)
.ec  Ecuador
.ee  Estonia (Eesti) Only available for Estonia

registered brands and companies.

.eg  Egypt
.er  Eritrea
.es  Spain (España)
.et  Ethiopia
.eu  European Union Restricted to institutions (under

the .europa.eu subdomain),
companies, and individuals in the

European Union (or in other
overseas or autonomous regions
of member countries).

.fi  Finland
.fj  Fiji
.fk  Falkland Islands
.fm  Federated States
of Micronesia
Used for some radio related
websites outside Micronesia,
notably Last.fm and Rinse FM
.fo  Faroe Islands
.fr  France Can only be used by organisations

or persons with a presence in
France (including overseas).

.ga  Gabon
.gb  United Kingdom Seldom used; the primary ccTLD

used is .uk for United Kingdom.

.gd  Grenada
.ge  Georgia (country)
.gf  French Guiana (See also .fr).
.gg  Guernsey
.gh  Ghana
.gi  Gibraltar
.gl  Greenland
.gm  The Gambia
.gn  Guinea
.gp  Guadeloupe Still used for Saint-Barthélemy
and Saint-Martin (see also .fr).
.gq  Equatorial Guinea
.gr  Greece
.gs  South Georgia and
the South Sandwich Islands
.gt  Guatemala
.gu  Guam
.gw  Guinea-Bissau
.gy  Guyana
.hk  Hong Kong Special administrative region of

the People’s Republic of China.

.hm  Heard Island and
McDonald Islands
.hn  Honduras
.hr  Croatia (Hrvatska)
.ht  Haiti
.hu  Hungary
.id  Indonesia
.ie  Republic of Ireland (Éire) Only available for Ireland
registered brands and companies.

Foreign companies can register if

doing business in Ireland or
provide TM.

.il  Israel
.im  Isle of Man
.in  India Under INRegistry since April 2005

(except: gov.in, mil.in, ac.in, edu.in,

res.in).

.io  British Indian Ocean Territory
.iq  Iraq
.ir  Iran
.is  Iceland (Ísland)
.it  Italy Restricted to companies and
individuals in the European Union.
.je  Jersey
.jm  Jamaica
.jo  Jordan
.jp  Japan
.ke  Kenya
.kg  Kyrgyzstan
.kh  Cambodia (Khmer, former Kâmpŭchea)
.ki  Kiribati
.km  Comoros
.kn  Saint Kitts and Nevis
.kp  Democratic People’s
Republic of Korea
.kr  Republic of Korea
.kw  Kuwait
.ky  Cayman Islands
.kz  Kazakhstan
.la  Laos (Currently being marketed as the

unofficial domain for Los Angeles).

.lb  Lebanon Must be registered with a company

in Lebanon to register

.lc  Saint Lucia
.li  Liechtenstein
.lk  Sri Lanka
.lr  Liberia
.ls  Lesotho
.lt  Lithuania
.lu  Luxembourg
.lv  Latvia
.ly  Libya
.ma  Morocco
.mc  Monaco
.md  Moldova
.me  Montenegro
.mg  Madagascar
.mh  Marshall Islands
.mk  Republic of Macedonia The former Yugoslav Republic of

Macedonia

.ml  Mali
.mm  Myanmar
.mn  Mongolia Some second-level domains are

reserved for special use .mn

.mo  Macau Special administrative region of
the People’s Republic of China.
.mp  Northern Mariana Islands
.mq  Martinique (See also .fr).
.mr  Mauritania
.ms  Montserrat
.mt  Malta
.mu  Mauritius
.mv  Maldives
.mw  Malawi
.mx  Mexico
.my  Malaysia Must be registered with a company

in Malaysia to register.

.mz  Mozambique
.na  Namibia
.nc  New Caledonia (See also .fr).
.ne  Niger
.nf  Norfolk Island
.ng  Nigeria
.ni  Nicaragua
.nl  Netherlands First official country TLD that was

assigned to a country.

.no  Norway Must be registered with
a company in Norway to register.
.np  Nepal
.nr  Nauru
.nu  Niue Commonly used by Danish, Dutch

and Swedish websites, because in

those languages ‘nu’ means
“now”.

.nz  New Zealand
.om  Oman
.pa  Panama
.pe  Peru
.pf  French Polynesia With Clipperton Island
(See also .fr).
.pg  Papua New Guinea
.ph  Philippines
.pk  Pakistan
.pl  Poland
.pm  Saint-Pierre and Miquelon
.pn  Pitcairn Islands
.pr  Puerto Rico
.ps  Palestinian territories PA-controlled West Bank and
Gaza Strip.
.pt  Portugal Only available for Portuguese

registered brands and companies.

.pw  Palau
.py  Paraguay
.qa  Qatar
.re  Réunion (See also .fr)
.ro  Romania
.rs  Serbia (See also former .yu still in use).
.ru  Russia (See also former .su still in use).
.rw  Rwanda
.sa  Saudi Arabia
.sb  Solomon Islands
.sc  Seychelles
.sd  Sudan
.se  Sweden
.sg  Singapore
.sh  Saint Helena
.si  Slovenia
.sj  Svalbard and  Jan Mayen Islands Not in use (Norwegian
dependencies; see .no).
.sk  Slovakia
.sl  Sierra Leone
.sm  San Marino
.sn  Senegal
.so  Somalia
.sr  Suriname
.st  São Tomé and Príncipe
.su former  Soviet Union Still in use.
.sv  El Salvador
.sy  Syria
.sz  Swaziland
.tc  Turks and Caicos Islands
.td  Chad
.tf  French Southern
and Antarctic Lands
Seldom used (see also .fr).
.tg  Togo
.th  Thailand
.tj  Tajikistan
.tk  Tokelau Also used as a free domain
service to the public.
.tl  East Timor Old code .tp is still in use.
.tm  Turkmenistan
.tn  Tunisia
.to  Tonga
.tp  East Timor ISO code has changed to TL;
.tl is now assigned but .tp is still
in use.
.tr  Turkey
.tt  Trinidad and Tobago
.tv  Tuvalu Much used by television
broadcasters. Also sold as
advertising domains.
.tw  Republic of China (Taiwan) Registration allowed worldwide,

local presence not required.

.tz  Tanzania
.ua  Ukraine
.ug  Uganda
.uk  United Kingdom
.us  United States of America (Commonly used by U.S. State
and local governments instead of
.gov TLD).
.uy  Uruguay
.uz  Uzbekistan
.va  Vatican City
.vc  Saint Vincent and

the Grenadines

.ve  Venezuela
.vg  British Virgin Islands
.vi  U.S. Virgin Islands
.vn  Vietnam
.vu  Vanuatu
.wf  Wallis and Futuna (See also .fr).
.ws  Samoa Formerly Western Samoa.
.ye  Yemen
.yt  Mayotte (See also .fr).
.yu  Yugoslavia Now used for Serbia and Montenegro.
.za  South Africa (Zuid-Afrika).
.zm  Zambia
.zw  Zimbabwe

 

ข้อมูลจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Internet_top-level_domains

]]>
https://www.unzeen.com/article/683/feed/ 4
แชร์เน็ทผ่านมือถือ “windows mobile ง่ายนิดเดียว!” ใครๆก็ทำได้ https://www.unzeen.com/article/374/ https://www.unzeen.com/article/374/#comments Mon, 01 Sep 2008 05:57:12 +0000 http://www.unzeen.com/?p=374 วันนี้มาดูวิธีการต่ออินเทอร์เน็ทผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็น windows mobile กันหน่อย เผื่อใครมีเหตจำเป็นให้ต้องใช้เน็ทเวลาที่ไม่มี wi-fi, ไม่มี ADSL หรือกลับต่างจังหวัดท่านอาจจำเป็นได้ใช้


เริ่มกันเลย

อย่างแรกสุด ติดต่อผู้ให้บริการของคุณก่อน แล้วขอเปิดใช้ GPRS/EDGE ซะ

จากนั้นทำการเสียบสาย USB จากมือถือเข้ากับโน๊ตบุ๊กของคุณให้เรียบร้อย

มาที่มือถือของเรากันบ้าง ให้เข้าไปที่ Programs และเลือก Internet Sharing

windows-mobile-share-internet

แล้วก็ Connect

windows-mobile-share-internet

ระบบเตือนขึ้นมาว่าเราจะใช้ ActiveSync มะได้นะ กด OK ผ่านไป

windows-mobile-share-internet

Connect เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็ใช้โน๊ตบุ๊ก เล่นเน็ทได้แล้วจ้า

windows-mobile-share-internet

โอ้วแม่เจ้าแทบไม่ต้องทำอะไรเลย อะไรมันจะง่ายขนาดนั้น !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

]]>
https://www.unzeen.com/article/374/feed/ 1
ทดสอบความเร็ว Internet บน PCT ของ True https://www.unzeen.com/article/68/ https://www.unzeen.com/article/68/#respond Sun, 13 Mar 2005 12:32:11 +0000 /?p=68 สำหรับใครที่มี PCT อยู่และอยากจะใช้ PCT ในการ connect internet คุณสามารถใช้ PCT ในการ connect internet ได้ที่ความเร็ว 32K ซึ่งอาจจะไม่เร็วมากนักแต่ก็พอจะใช้ในการใช้งาน internet เป็นบางครั้งบางคราว (โดยส่วนตัวแล้วผมใช้ประจำ) จากครั้งที่แล้วที่ผมได้แนะนำการ connect internet ผ่านทางมือถือในระบบ HUTCH ไปแล้ว วันนี้มาดูวิธีการติดตั้งและใช้งาน PCT ในการ connect internet กันบ้าง

ในการใช้ PCT ในการ Connect internet คุณจะต้องมี PCT รุ่น Sunyo Sm-801,Kyocera F10,H-Series1,H-Series2,I-Series2 และต้องซื้อสาย USB มาด้วยนะครับ ราคารวมๆ น่าจะไม่เกิน 4000 บาท

หลังจากที่คุณได้ซื้อ PCT และสาย USB มาแล้วเขาจะมีแผ่น Driver มาให้ด้วย 1 แผ่น จากนั้นให้คุณเชื่อมต่อสาย USB ระหว่างเครื่อง computer กับ PCT ซึ่งเครื่อง computer ของคุณจะขึ้น dialog มาบอกว่าพบ hardware ตัวใหม่ ให้ทำการเลือกที่ Install from a list or location แล้วคลิก Next

จากนั้นนำแผ่น driver เข้าไปใน CDROM แล้วคลิก include this location in the search. และคลิก Browse ไปที่ CDROM แล้วเลือก folder ที่เก็บ Driver ของแต่ละระบบที่คุณใช้ อย่างของผมเลือก WIN2K จากนั้นคลิก Next

เริ่มการติดตั้ง Driver รอนิดหนึ่ง

จะมี dialog ขึ้นมายืนยันการติดตั้ง driver อีกครั้งให้คลิก Continue Anyway

การติดตั้ง driver ตัวแรกเรียบร้อย คลิก Finish เพื่อจะได้ทำการติดตั้ง driver อีกตัวหนึ่ง

เริ่มทำการติดตั้ง driver อีกตัวหนึ่ง ให้คลิกที่ Install from a list or location. แล้วคลิก Next

จากนั้น คลิกที่ include this location in the search. และคลิก Browse ไปที่ CDROM

เริ่มทำการติดตั้ง Driver

คลิก Continue Anyway เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

การติดตั้งเสร็จเรียบร้อย คลิก Finish

ต่อไปมาเริ่มทำการ สร้าง connection เพื่อทำการเชื่อมต่อ internet กันเลย ให้เข้าไปที่ Start -> Programs -> Accessories -> Communications -> New connection wizard จะได้หน้าจอดังรูป ให้คลิก Next

เลือก Connect to the Internet แล้วคลิก Next

เลือก Connect using a dial-up modem แล้วคลิก Next

ทำการเลือก modem อย่างของผมคือ igiLink PHS-DDI Data Cable แล้วให้คลิก Next

จากนั้นให้ใส่ ชื่อ connection ของผมจะใช้ว่า PCT Connect จากนั้นคลิก Next

จากนั้นให้ใส่เบอร์โทรศัพท์ อย่างของผมจะใช้ของ True คือ 029000000##3 ซึ่งจะคิดค่าใช้จ่ายโดยหักจากยอดเงินใน PCT เลย (ของผมใช้ PCT Buddy) หรือว่าคุณจะใช้ packet internet ของ ISP รายอื่นก็ได้ ซึ่งมีอยู่ อีก 2 รายที่ผมลองแล้วว่าใช้ได้ คือ samart และของ cs loxinfo โดยมีเบอร์โทรศัพท์ที่จะใช้ในการ connect ออกไปดังนี้ คือ

true internet จะใช้เบอร์ 029000000##3
samart จะใช้เบอร์ 029537000##3
cs loxinfo จะใช้เบอร์ 026234040##3

จะสังเกตุเห็นได้ ว่าจะต้องใส่ ##3 หลังหมายเลขเสมอ ถ้าไม่ใส่ connect ไม่ได้นะครับ

จากนั้นเลือก Anyone’s use แล้วคลิก Next

มาถึงขึ้นตอนนี้ให้ใส่ User และ password ของ Internet ที่เราใช้ (หากว่าใช้ของ true (029000000##3) ให้ใส่user = easypct และไม่ต้องใส่ password) จากนั้นคลิก Next

ทำการติดตั้งเรียบร้อยแย้ว คลิก Finish เลย

ที่นี้ลองมา connect กันดูบ้าง ให้เข้าไปที่ Setting -> Network Connections แล้วเลือก Connect ที่เราสร้างไว้

ให้ทำการคลิก Dial เพื่อทำการเชื่อมต่อ

จะเห็นว่า สามารถที่จะเชื่อมต่อได้ที่ 32Kbps ทีนี้ก็ลองทำการเปิด website ดูได้แล้ว ถึงจะไม่เร็วมากนักแต่ก็เหมาะที่จะนำไปใช้ในการ present งานต่างๆ ให้ลูกค้าดูได้

]]>
https://www.unzeen.com/article/68/feed/ 0
ทดสอบความเร็ว Internet บน CDMA-1X ของ HUTCH https://www.unzeen.com/article/53/ https://www.unzeen.com/article/53/#respond Sat, 26 Feb 2005 15:30:35 +0000 /?p=53 ได้รับ SMS จากทาง hutch ว่าเครื่อง SUNYO SCP-550 ที่ผมใช้อยู่สามารถที่จะใช้ Internet ได้แล้วโดยการสมัครใช้บริการเสริมในอัตราที่ถูกเอามากๆ พอมาวันนี้ได้ลองไปซื้อสาย USB มาลองทดสอบใช้งาน Internet ดูว่าจะเร็วแค่ไหน มาดูขั้นตอนการติดตั้งและใช้งาน Internet ผ่านทางระบบเครือข่ายของ hutch กันเลย

ผมเองใช้โทรศัพท์มือถือของ hutch มาตั้งแต่ปีที่แล้ว และใช้เครื่องของ sunyo scp-550 ตอนแรกที่เลือกใช้รุ่นนี้เพราะเห็นว่ามันสามารถที่จะ run เกมและโปรแกรมที่เขียนจาก Java ได้และสามารถที่จะเชื่อมต่อ Internet ได้ด้วย เลยซื้อมาใช้ แต่พอเอามาใช้จริงๆ มันดันไม่ได้เป็นอย่างที่คิดไว้ เพราะถึงแม้ว่ามันจะสามารถ run java ได้แต่ว่าเราก็ไม่สามารถนำโปรแกรมที่เราเขียนไปลงในเครื่องได้ เพราะว่าไม่มี software มาให้ และการเชื่อมต่อ Internet ก็ไม่สามารถที่จะใช้งาน website อื่นๆ นอกเหนือจากที่ทาง hutch จัดเตรียมไว้ให้ได้ พระแม่เจ้า….. ผมซื้อเครื่องนี้มาทำไมนี้ ใช้อะไรก็ไม่ได้ นอกจากโทรออกกับรับสาย

1 ปีผ่านไป ผมได้รับ SMS จากทาง hutch ว่าขณะนี้เขาได้เปิดให้บริการเชื่อมต่อ Internet ผ่านทางเครื่อง sunyo scp-550 แล้ว ผมก็ไม่รอช้า รีบไปหาซื้อสาย USB มาทดสอบกันเลย

ในการใช้งาน Internet ของ hutch นั้นเราต้องทำการสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการ Internet ก่อนจากนั้นก็ไปหาซื้อสาย USB และไป Download Driver ของมือถือรุ่นที่คุณใช้ลงมา ( ตอนนี้มีใช้ได้ 2 รุ่นคือ sunyo scp-550 กับ sunyo scp-588 ) โดยทาง hutch บอกว่าสามารถเชื่อมต่อได้ความเร็วสูงสุดถึง 153 kbps โดยมีให้เลือก 2 โปรโมชั่น คือ 190 บาท สามารถใช้งานได้ 30MB กับ 390 บาท สามารถใช้งานได้ 100MB แต่ผมลองไปถามที่ศูนย์ฯ ดูแล้วเขาบอกว่ามี แบบ 890 บาทใช้งานแบบ Unlimited ด้วย ( ผมว่าถ้าราคาอยู่ที่ 590 บาทก็จะใช้ตัวนี้เลยนะนี้ รอให้ลดก่อนดีกว่า.. )

มาเริ่มติดตั้งและใช้งาน Internet ผ่านเครื่อง sunyo scp-550 กันเลยดีกว่า

อุปกรณ์ที่เราต้องมี มีดังนี้
1. เครื่อง sunyo scp-550
2. สาย USB (ไปหาซื้อที่ hutch shop ราคา 270 บาท)

จากนั้นให้เข้าไปทำการ Download Drive ของโทรศัพท์ที่คุณใช้งานอยู่ จาก http://www.hutch.co.th/download/index_th.htm

เมื่อทำการ Download Driver มาแล้วให้ทำการเสียบสาย USB ระหว่างโทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็จะบอกว่าพบอุปกรณ์ชิ้นใหม่ ให้คลิก No, not this time แล้วคลิก Next

จากนั้นให้คุณคลิกเลือก Install from a list or specific location (Advanced) แล้วคลิก Next

จากนั้นให้คลิกเลือก Include this location in the search แล้วให้คลิก Browe เพื่อเลือก folder ที่เก็บ Driver ที่เราได้ Download ลงมาเก็บไว้แล้ว จากนั้นให้คลิก Next

โปรแกรมกำลังทำการติดตั้ง Driver ลงไปในระบบของเรา รอนิดหนึง..

จากนั้นจะมี dialog ขึ้นมาถามยืนยันการติดตั้งให้คลิก Continue Anyway

จากนั้นการติดตั้ง Driver ก็เสร็จสมบูรณ์ เตรียมตัวใช้งานได้

หลังจากทำการติดตั้ง Driver ลงไปแล้ว เราก็จะต้องมาทำการสร้าง Connection เพื่อเชื่อมต่อ Internet กันก่อน โดยให้เข้าไปที่
Start -> Programs ->Accessories -> Communications -> New Connection Wizard ซึ่งจะได้หน้าจอดังรูป จากนั้นให้คลิกที่ Next

จากนั้นให้ทำการเลือก Connect to the Internet แล้วคลิก Next

จากนั้นให้ทำการเลือก Set up my connection manually แล้วคลิก Next

หลังจากนั้นให้เลือก Connect using a dial-up modem แล้วคลิก Next

จากนั้นให้เลือกที่ SUNYO USB Phone ซึ่งในเครื่องของคุณอาจจะเป็น port อื่นที่ไม่ใช้ COM5 เหมือนของผมก็ได้ และให้ทำการคลิก Next เพื่อทำขึ้นตอนต่อไป

ขั้นตอนนี้จะให้คุณใส่ชื่อของ Connection จะใส่อะไรก็ได้ครับแล้วแต่…

ต่อไปให้คุณใส่หมายเลยที่จะโทรเข้า ซึ่งของ HUTCH เขาใช้ #777

ขั้นตอนนี้จะให้คุณใส่ username และ password ซึ่งทาง HUTCH เขากำหนด username และ password เป็น
User name : hutch
Password : hutch

เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว คลิก Finish เลย

ต่อไปเรามาลองทำการ Connect กันดูเลยดีกว่า ให้คุณเข้าไปที่ Start -> Settings -> Network Connections แล้วเลือกชื่อของ Connection ที่เราได้สร้างไว้ ซึ่งของผมคือ HUTCH Connect ซึ่งจะได้หน้าจอดังรูป จากนั้นให้คุณทำการคลิก Dial ได้เลย แค่นี้คุณก็สามารถทำการเชื่อมต่อ Internet ได้แล้ว

จากที่ผมได้ลองใช้ดูปรากฏว่าหลังจากที่ Connect ไปแล้วตัว Connection แสดงค่าออกมาว่าสามารถ Connect ได้แค่ 28.8kbps แต่เวลาผมเปิด website ต่างๆ ดูก็เร็วพอสมควร เลยลองตรวจสอบความเร็วดู http://www.adslthailand.com/ ดู ก็พบว่ามันวิ่งได้ตั้ง 113kbps ผมเลยเข้าใจว่าตัวเลขที่แสดงออกมาจากตัว connection ว่า 28.8kbps คงจะผิด

ที่จริงผมใช้ PCT ในการ connect internet ด้วยแต่วิ่งได้แค่ 32kpbs ซึ้งช้ามากๆ เมื่อเทียบกับ 153kbps ที่ได้จากของ HUTCH ไว้วันหลังผมจะมาเขียนเรื่องการใช้ PCT connect internet ให้ดูกันอีกครั้งแล้วกันว่าต้องทำยังไง บ้าง

]]>
https://www.unzeen.com/article/53/feed/ 0
Proxomitron ,HTTP Header ไหนๆก็ไม่รอดสายตา https://www.unzeen.com/article/32/ https://www.unzeen.com/article/32/#comments Sun, 13 Feb 2005 15:34:15 +0000 /?p=32 ในการเปิด website ขึ้นมาแต่ละครั้งมีข้อมูลที่ถูกส่งระหว่างเครื่องของเรากับ server มากกว่าหน้า page ที่คุณเห็น หลายคนอาจจะทราบแล้วว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกส่งไปมาระหว่างเครื่องของเรา กับ server และในบทความนี้ผมจะแนะนำการใช้งาน โปรแกรม Proxomitron ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะทำหน้าที่ดักจับ header ที่ทำงานบน HTTP มาดูกันซิว่ามีอะไรใน header กันบ้าง

วันนี้มาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งาน โปรแกรม Proxomitron กันดีกว่า เจ้าโปรแกรมตัวนี้มีไว้สำหรับดักดู header ของข้อมูลที่ส่งผ่านทาง http จากเครื่องของเราออกไปที่เครื่อง server บางท่านอาจจะ งงๆ ว่าจะดูไปทำไม มันมีอะไร น่าดู ที่จริงแล้ว header มันมีอะไรที่น่าสนใจหลายเรื่อง อย่างเช่นชื่อของ cookie หรือ ค่าที่มีการส่ง ผ่านทาง form ต่างๆ

ขั้นแรกมาดูวิธีการติดตั้งกันก่อนเลย

ให้คุณไป Download โปรแกรมจาก http://www.proxomitron.info/ มาก่อนเลยนะครับ

จากนั้นทำการติดตั้งตามขั้นตอนดังนี้

1. เมื่อดับเบิลคลิกที่ ProxN45.exe ที่เรา download ลงมาก็จะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้ง Proxomitron ให้คลิก Next

2. จากนั้นก็มาอ่านสิทธิในการใช้งานโปรแกรมของเขานิดหน่อย แล้วคลิก Next

3. ทำการเลือก folder ที่ต้องการติดตั้งโปรแกรม

4. ทำการตั้งชื่อของโปรแกรมที่จะแสดงใน start menu

5. ตรวจสอบรายละเอียดการติดตั้งอีกครั้ง แล้วก็คลิก Next

6. โปรแกรมก็จะเริ่มทำการติดตั้งแล้ว

7. การติดตั้งเรียบร้อยแล้วครับ คลิก Finish เลย

จากนั้นให้ทำการ config proxy ของ IE ก่อนนะครับ โดยคลิก Tools -> Internet Options -> Connections

ถ้าหากว่าเป็นการ connect ผ่าน Lan ให้คลิกที่ LAN Settings หรือถ้าหาก connect ผ่าน modem ก็ให้คลิก Settings เพื่อทำการ config proxy จากนั้นใส่ค่าของ IP และ port ตามรูปนะครับ

จากนั้นให้ทำการคลิก OK แล้วก็ออกจากหน้า config ของ IE เลยครับ

ต่อ ไปเราก็ต้องมาทำการ config ตัวโปรแกรม Proxomitron กันต่อเลยนะครับ ซึ่งเมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วก็จะได้ icon อยู่ตรงมุนซ้ายล่าง ดังรูป (โดยปกติ โปรแกรม proxomitron จะทำการ run ตัวเองขึ้นมาตอน start up อยู่แล้ว)

ให้ทำการ คลิกที่ icon ของ proxomitron เพื่อทำการ config โปรแกรมดังรูป

ให้ทำการคลิกที่ Config -> HTTP จากนั้นใส่ port number เป็น 8080 ตาม port ที่เรากำหนดไว้ที่ IE จากนั้นคลิก OK

จากนั้นคลิกที่ Log Window เพื่อเปิดหน้าต่าง log message ขึ้นมา จากนั้นทำการเปิด web เพื่อดูผลการทำงานของโปรแกรม

จากตัวอย่างจะเห็นว่ามี ข้อมูลที่รับส่งระหว่าง server กับเครื่องของเรา

เพียงเท่านี้ คุณก็จะเห็นแล้วว่า มีข้อมูลอะไรบ้างที่ส่งไปมาระหว่างกัน

และเจ้าโปรแกรมตัวนี้สามารถที่จะทำได้มากกว่าการดูข้อมูลเท่านั้นมันยังสามารถที่จะทำการปลอม header ที่รับเข้ามาและ ส่งออกไปได้ด้วย
โดย ในการ ปลอมหรือเปลี่ยนแปลง header นั้นให้คุณลองทำการทดสอบโดยการคลิกที่ header ในส่วนของ Edit Filters เพื่อทำการเลือกว่าจะทำการ
เปลี่ยนแปลง header ในส่วนใดบ้าง และทำการ คลิกที่ check box หน้า Outgoing Header Filters และ Incoming Header Filters จากนั้นลองเปิด web และดูผลการทำงานอีกครั้ง

เพียงเท่านี้เราก็สามารถที่จะทำการปลอม header ที่รับส่งกันระหว่างเครื่องของเรากับ server ได้แล้ว ลองเล่นๆๆ กันดูนะครับ

มา ถึงตอนนี้หลายท่านอาจจะยัง งงๆ อยู่ว่าจะเอาไปทำอะไรได้ ไม่ทราบว่ายังจำ บทความแรกที่ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องการตรวจสอบชนิดของ file ที่ upload ขึ้นไปได้หรือเปล่าครับ จากบทความที่แล้ว ผมยกตัวอย่างเรื่องการตรวจสอบชนิดโดยการใช้ file type ดังนั้นหากว่าเราใช้ โปรแกรมตัวนี้ในการเปลี่ยน file type ก่อนที่จะ upload ขึ้นไปเราก็จะสามารถหลอก โปรแกรมนั้นได้ว่า file ที่เรา up ขึ้นไปนั้น เป็น file ภาพจริงๆๆ ไม่ใช้ file พวก php script แค่นี้คงพอจะเห็นภาพแล้วนะครับว่าจะเอาไป hack web ที่มีการตรวจสอบ file type แบบนี้ได้ ยังไง

]]>
https://www.unzeen.com/article/32/feed/ 6