Religion/Myth/History – DevExperience https://www.unzeen.com :// Sun, 17 Nov 2019 03:10:35 +0000 en-US hourly 1 การวัดระยะทางระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์และเส้นรอบวงของโลกในสมัยกรีกโบราณ https://www.unzeen.com/article/3176/ https://www.unzeen.com/article/3176/#comments Sun, 12 Apr 2015 15:34:55 +0000 http://www.unzeen.com/?p=3176 การวัดระยะทางระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์
อริสตาร์คัสแห่งซามอน (Aristarchus) นักคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวกรีก (320-230 ปีก่อนคริสตกาล) อริสตาร์คัสเป็นคนแรกที่เสนอว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และกลางวัน-กลางคืนเกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง อริสตาร์คัสวัดระยะระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์ โดยใช้หลักการของตรีโกณมิติ อริสตาร์คัสใช้ช่วงเวลาที่มองเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงบนท้องฟ้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ทำมุมกัน 90 องศา (มุม a) จากนั้นต้องทำการวัดมุมระหว่างดวงจันทร์-โลก-ดวงอาทิตย์ (มุม b ส่วนมุม c ที่เหลือคำนวณได้จาก c=180-a-b) ซึ่งตอนนั้นอริสตาร์คัสวัด (มุม b) ได้ 87 องศา (ปัจจุบันวัดได้ 89.85 องศา ด้วยความไม่แม่นยำของเครื่องมือสมัยก่อนทำให้อริสตาร์คัสวัดผิดพลาดไป 2.85 องศา) อริสตาร์คัสคำนวณว่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ยาวเป็น 19 เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ซึ่งจริงๆแล้วระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะเป็น 390 เท่าของระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ความคลาดเคลื่อนนี้ไม่ได้เกิดจากการคำนวณที่ผิดพลาด แต่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดทำให้มุมที่ได้ขาดความเที่ยงตรง

Aristarchus

การวัดเส้นรอบวงของโลก
เอราทอสเทนีส (Eratosthenes) นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก (276-194 ปีก่อนคริสตกาล) ว่ากันว่าเอราทอสเทนีสเคยร่ำเรียนที่สำนัก “อะคาเดมี” ของ “เพลโต” มาด้วย เอราทอสเทนีสยอมรับว่าโลกกลมและเขาพยายามคำนวณเส้นรอบโลก โดยเอราทอสเทนีสได้ทำการวัดเงาในเวลาเที่ยงวันของเสาที่ตั้งอยู่ในเมือง Syene และ Alexandria ซึ่งทั้งสองเมืองอยู่ห่างกัน 5,000 Stades (10 Stades เท่ากับ 1 ไมล์) จากการคำนวณของเอราทอสเทนีสเงาในเวลาเที่ยงของเสาจากทั้งสองเมืองต่างกันอยู่ 7.2 องศา เอราทอสเทนีสรู้อยู่แล้วว่าโลกกลม ฉะนั้น 1 วงกลมก็จะแบ่งเป็น 7.2 องศาได้ 50 ชิ้น (360/7.2 = 50) ดังนั้นความยาวรอบโลกก็จะเท่ากับ 50×5,000 = 250,000 Stades หรือเท่ากับ 25,000 ไมล์ ซึ่งความยาวรอบวงของโลกที่วัดด้วยเครื่องมือสมัยใหม่คือ 24,860 ไมล์ คลาดเคลื่อนไปนิดหน่อย

Aristarchus

ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย, ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด, กูเกิล

]]>
https://www.unzeen.com/article/3176/feed/ 1
เสรีภาพของนกในกรง https://www.unzeen.com/article/3132/ https://www.unzeen.com/article/3132/#respond Thu, 25 Dec 2014 02:26:48 +0000 http://www.unzeen.com/?p=3132 ณ ดินแดนอันสงบสุข มีนกตัวหนึ่งถูกเลี้ยงไว้ในกรงด้วยบุรุษผู้ใจดี เขาให้อาหารเมื่อมันต้องการ ให้ความอบอุ่นเมื่อมันหนาว เจ้านกถูกเลียงดูดูแลอย่างดี ไม่เคยมีอะไรที่มันอยากได้แล้วจะไม่ได้ บุรุษผู้เลียงนกตัวนี้บอกกับมันเสมอว่ามันเป็นนกที่โชคดีที่สุด มีเสรีภาพมากที่สุด ไม่มีนกตัวไหนในโลกที่จะโชคดีได้อย่างมันแล้ว
อยู่มาวันหนึ่ง มีนกอีกตัวบินมาแต่ไกล ร่างกายซูบผอม ปีกขาดรุ่งริ่ง มันเห็นเจ้านกที่อยู่ในกรงจึงได้แวะเข้ามาคุยด้วย มันทักด้วยความสงสัยว่าเจ้านกที่อยู่ในกรงมันทนอยู่ได้อย่างไรโดยไม่มีเสรีภาพ มันพยายามเล่าให้เจ้านกในกรงฟังว่าข้างนอกนั้นมันสามารถบินไปกินเม็ดทานตะวันสดๆจากต้น ตื่นเช้ามาได้รับแสดงแดดออนๆ อันอบอุน ได้โบยบินไปไหนก็ได้ที่อยากจะไป แต่ไม่ว่าจะเล่าอย่างไรเจ้านกในกรงก็ไม่เชื่อ มันเชื่อโดยสนิทใจว่าในกรงที่่มันอยู่นี้หละดีที่สุดแล้ว เจ้านกที่มาจากข้างนอกจะชวนมันไปดูมันก็ไม่ยอมไป “มันเลือกที่จะอยู่กับเสรีภาพที่มันรู้จัก”

]]>
https://www.unzeen.com/article/3132/feed/ 0
ว่าด้วยกรีกและสงครามกรีก-เปอร์เซียในสมัยโบราณ https://www.unzeen.com/article/2668/ https://www.unzeen.com/article/2668/#respond Sat, 08 Mar 2014 05:46:41 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2668 กรีกในสมัยโบราณอยู่ทางตะวันออกสุดยุโรปภาคใต้ ประกอบด้วยผืนแผ่นดินและดินแดนในหมูเกาะต่างๆ ในทะเลเอเจียน และฝั่งตะวันตกของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งนิยมเรียกว่า “นครรัฐไอโอเนียน” ในบรรดานครรัฐต่างๆ ของกรีกต่างปกครองตัวเองอิสระแยกจากกัน ไม่เคยรวมตัวเป็นนครรัฐเดียวได้เลย ยกเว้นจะมีการรวมตัวกันบ้างเมื่อเกิดสงครามกับต่างชาติ โดยนครรัฐเหล่านั้นจะรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ (Federation) แต่เมื่อสงครามสงบลงนครรัฐต่างๆ ก็แข่งขันกันเองและทำสงครามกันเองอยู่บ่อยครั้ง

750px-Map_Greco-Persian_Wars-en.svg

การปกครอง

ในช่วง 1,200 – 650 ปีก่อนคริสตกาล รัฐแต่ละรัฐของกรีกมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน แต่ละรัฐมีแนวทางการปกครองของตัวเองซึ่งพอจะจำแนกออกได้เป็น 4 แบบ

  1. ระบอบราชาธิปไตย (Monarchy) โดยมีพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจสูงสุดในการปกครอง
  2. ระบอบชนชั้นสูง (Aristocracy) โดยชนชั้นสูงจะตั้งคณะเป็นผู้ปกครอง ชนชั้นสูงที่ว่าคือพวกนักรบและขุนนาง
  3. ระบอบคณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองโดยหมู่คณะของกลุ่มคนบางกลุ่ม โดยคณะที่ว่าเป็นพลเมืองกลุ่มเล็กๆ ของพลเมืองผู้ร่ำรวย
  4. ระบอบทรราช (Tyranny) เป็นการปกครองโดยบุคคลเพียงคนเดียว ใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครอง ไม่คำนึงถึงผู้อยู่ใต้การปกครอง

จะว่าไปแล้วในแต่ละรัฐไม่ได้ปกครองด้วยการปกครองแบบใดแบบหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว อาจมีการรวมวิธีปกครองหลายแบบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างการปกครองของรัฐใหญ่ๆ 3 รัฐ ได้แค่ นครรัฐคอรินธ์ นครัฐเอเธนส์ นครรัฐสปาร์ตา และระบอบประชาธิปไตยเพิ่งมีขึ้นในช่วง 494 ปีก่อนคริสตกาล

  1. นครรัฐคอรินธ์ เป็นรัฐเมืองท่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เหนือที่ราบชายทะเลบริเวณคอคอดที่เชื่อมคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุสกับแผ่นดินใหญ่ คอรินธ์แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ภูมิภาคและแบ่งประชากรออกเป็น 8 เผ่า ซึ่งแต่ละเผ่าจะเลือกผู้แทน 10 คน เพื่อเป็นผู้แทนในสภา (Council)  ซึ่งสภานี้จะเป็นคณะที่ปรึกษาของผู้ปกครองที่มาจากชนชั้นสูงอีกทีหนึ่ง
  2. นครรัฐเอเธนส์ เป็นรัฐขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 50,000 คน ประกอบด้วยบริเวณสำคัญ 2 ส่วนคือ อะโครโปลิส (Acropolis) และ อกอรา (Agora) ปกครองแบบประชาธิปไตย แต่แตกต่างจากประชาธิปไตยสมัยใหม่อยู่มาก คือ
    1. สิทธิในการปกครองถูกสงวนไว้สำหรับประชากรเพียง 1 ใน 6 เท่านั้น

    2. สตรีไม่มีหน้าที่หรือสิทธิใดๆ
    3. พลเมืองที่มีสิทธิสามารถใช้สิทธิของตัวเองได้โดยตรง โดยไม่ต้องเลือกผู้แทนเพื่อเข้าไปใช้สิทธิดังกล่าว จะเห็นว่าประชากรที่มีสิทธิในการปกครองของรัฐเอเธนส์มีอยู่ไม่มากจึงไม่จำเป็นต้องทำการเลือกผู้แทน พลเมืองทุกคนที่มีสิทธิสามารถเข้าร่วมประชุมสภาราษฎรและลงมติในเรื่องต่างๆได้
  3. นครรัฐสปาร์ตา เป็นรัฐที่ทรงอำนาจและแข็งแกร่งที่สุดในบรรดานครรัฐต่างๆของกรีก มีกองกำลังทหารที่มีระเบียบวินัยและเกรียงไกรที่สุด มีลักษณะการปกครองเป็นเผด็จการทหาร ประชาชนของสปาร์ตาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
    1. สปาร์เตียน (Spartiates) เป็นชาวดอเรียน ถือเป็นสปาร์ตาแท้ ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นทหาร
    2. เปริโอชิ (Perioecil) เป็นชาวเลซิเดโมเนียน อาศัยอยู่รอบนอกตัวเมือง จัดเป็นเสรีชนทำกิจการของตัวเองได้ แต่ขาดสิทธิทางการเมือง
    3. เฮล็อต (Helot) เป็นชนพื้นเมืองเดิม แต่เมื่อพวกเลซิดเดโมเนียนบุกรุกเข้ามาก็ทำการควบคุมคนเหล่านี้ให้อยู่ในฐานะ “ทาส”

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

ประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดิเปอร์เซียมีอาณาเขตกว้างขวาง ยึดครองอาณาจักรต่างๆ ไว้ได้เป็นจำนวนมาก โดยมีเขตแดนดังนี้

  • ทางทิศเหนือจดทะเลดำ เทือกเขาคอเคซัส ทะเลสาปแคสเปียน
  • ทิศใต้จดอ่าวเปอร์เซีย ทะเลอาระเบียน
  • ทิศตะวันออกจดแม่น้ำสินธุ เทือกเขาฮินดูกูด
  • ทิศตะวันตกจดทะเลเอเจียน และข้ามแม่น้ำไนล์เข้าไปในอียิปต์

สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 1 (492 ปีก่อนคริสตกาล)

กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ให้มาร์โดนิอุส (Madonius) ยกทัพข้ามช่องแคบเฮเลสปอนต์ผ่านแคว้นเทรซ (Thrace) ซึ่งเป็นชายฝั่งด้านเหนือของทะเลเอเจียน เพื่อเดินทางทัพเรือต่อไปยังคาลสมุทรกรีก แต่ถูกพายุใหญ่ ทำให้เรือเสียหายมากจนต้องยกทัพกลับ หลังจากนั้นพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ได้ส่งคณะฑูตไปยังรัฐต่างๆของกรีกเพื่อเจรจาให้ยอมส่งส่วยดินและน้ำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการยอมแพ้และอยู่ใต้การปกครองของเปอร์เซีย ขณะนั้นนครรัฐหลายรัฐยอมส่งส่วย  แต่มีบางรัฐไม่ยอม เช่น รัฐเอเธนส์ และ รัฐสปาร์ตาร์

สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 2 (490 ปีก่อนคริสตกาล) หรือสงครามมาราธอน

กษัตริย์ดาริอุสที่ 1 รวบรวมกำลังพลเพื่อที่จะทำสงครามกับกรีกอีกครั้ง โดยมีทหารราบ 250,000 ทหารม้า 1,000 เรือมากกว่า 600 ลำ โดยเดินทัพเลียบชายฝั่งทะเลเมติเตอเรเนียนเข้าสู่ทะเลเอเจียน และขึ้นบกที่อ่าวมาราธอน (Marathon) แคว้นอัตติกา (Attica) การรบครั้งนี้ถึงกรีกจะมีกำลังน้อยกว่า แต่กรีกเป็นฝ่ายชนะ

สงครามกรีก-เปอร์เซีย ครั้งที่ 3 (481 ปีก่อนคริสตกาล)

หลังจากกษัตริย์ดาริอุสที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี 486 ก่อนคริสตกาล  เจ้าชายเซอร์เซส พระโอรสก็สืบราชสมบัติต่อ เป็นกษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 (Xerxes 1)  กษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 ต้องการเดินทัพทางบกขึ้นเหนือ จึงสั่งให้ทำสะพานข้ามช่องแคบเฮเลสปอนส์ แล้วเดินทัพอ้อมมาตามชายฝั่งทะเลเข้าสู่คาบสมุทรกรีก โดยมีกองทัพเรือเดินทางเลียบชายฝั่งมาด้วย ว่ากันว่าการยกทัพมาครั้งนี้มีกำลังพลถึง 2,300,000 คน

  • การรบที่ช่องเขาเทอร์โมพิเล ลีโอไนดัส (ในหนัง 300 ภาคแรกเป็นเรื่องของคนคนนี้) ได้นำทหารสปาร์ตา 300 คนต้านทัพของเปอร์เซียบริเวณช่องเขาเทอร์โมพิเล ลีโอไนดัสและทหารสปาร์ตาทั้ง 300 คน ได้ทำการสู่รบอย่างกล้าหาญและพลีชีพที่ช่องเขานี้ เมื่อรบชนะฝ่ายเปอร์เซียก็มุ่งหน้าสู่เอเธนส์
  • การรบทางเรือที่ซาลามิส เธมิสโตคลิส (Themistocles) (ในหนัง 300: Rise of an Empire เป็นเรื่องของคนคนนี้ เป็นแม่ทัพเรือชาวกรีก) เธมิสโตคลิส ได้ให้เหตุผลต่อสภาว่าอนาคตของเอเธนส์ขึ้นอยู่กับอำนาจทางทะเล เขาสามารถโน้มนาวให้ประชาชนในรัฐเอเธนส์เห็นชอบในการนำเงินมาใช้ในการสร้างกองทัพเรือให้แข็งแกร่ง ในการสู่รบทางเรือที่ซาลามิส เธมิสโตคลิส เป็นฝ่ายชนะ เมื่อแพ้สงครามกษัตริย์เซอร์เซสที่ 1 รวบรวมกำลังพลที่เหลืออยู่และกลับเปอร์เซีย แต่ได้วางกำลังพล 120,000 คน ไว้ที่คาบสมุทรกรีก และมอบหมายให้มาร์โดนิอุส (Mardonius) บุตรเขยทำหน้าที่เป็นแม่ทัพ เมื่อมาร์โดนิอุสได้เป็นแม่ทัพก็ได้นำทัพบุกกรีกอีกอีกครั้ง และถูกสังหารในการรบ กองทัพเปอร์เซียขาดผู้นำ จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบ

หลังจากได้รับชัยชนะจากสงครามจากเปอร์เซียแล้ว ก็เกิดสงครามภายในระหว่างรัฐของกรีกอีกหลายครั้ง จนในที่สุดพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งมาซิโดเนีย (359– 336 ปีก่อนคริสตกาล) (คนนี้เป็นพ่อของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช) ซึ่งเป็นอาณาจักรทางภาคเหนือของกรีก ได้ใช้กำลังผสมระหว่างทหารม้าของขุนนางกับทหารราบฟาลังห์ (เป็นทหารที่ใช้โล่กับหอกยาวเวลารบจะเรียงแถวหน้ากระดาน) เข้ามาแทรกแซงและครอบครอง หลังจากนั้นไปก็จะเป็นเรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) ที่จะขยายอาณาเขตไปจนถึงอินเดีย

]]>
https://www.unzeen.com/article/2668/feed/ 0
ว่าด้วยเรื่องที่มาของคำว่าพระเจ้าเหา https://www.unzeen.com/article/2164/ https://www.unzeen.com/article/2164/#respond Wed, 11 Sep 2013 15:04:11 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2164 สมัยเด็กๆเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งเวลาที่มีใครอ้างว่าของมันเก่าแก่มากก็มักจะบอกว่า “มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหานู้น” แต่ทุกวันนี้ไม่ค่อยได้ยินแล้ว จริงๆก็แอบสงสัยอยู่นานว่าพระเจ้าเหานี้เป็นใครมาจากไหน เคยอ่านเจอในหนังสือของ จิตร ภูมิศักดิ์ หรือของใครสักคนไม่แน่ใจผมจำไม่ได้ แต่น่าจะเป็นของจิตรนั้นแหละ ในเล่มไหนสักเล่มมีพูดถึงเรื่องตึกพระเจ้าเหาที่ลพบุรีว่า คำว่า เหา มาจากภาษาเขมร ที่แปลว่า เรียก ฉะนั้นตึกพระเจ้าเหาก็จะหมายถึงตึกที่พระเจ้าแผ่นดินเรียก จะเรียกมาทำไมไม่รู้แหละแต่เรียกมาก็แล้วกัน อันที่จริงผมเห็นด้วยกับคำอธิบายนี้นะ ผมคิดเอาเองว่าในสมัยก่อนในราชสำนักคงจะใช้ภาษาขอมหรือเขมรในการพูดจากันเป็นปกติ แต่อยู่ๆจะมาเชื่อง่ายๆว่ามีความหมายแบบนี้ โดยไม่หาข้อมูลอื่นมาประกอบมันก็ยังไงอยู่ และเท่าที่ค้นหาดูตอนนี้ก็พบว่ามีคนให้ความหมายของคำว่า พระเจ้าเหา อยู่ 4 อย่างด้วยกัน คือ

1. พระเจ้าเหา มาจากตึกพระเจ้าเหา ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดลพบุรี โดยเป็นชื่อของพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชื่อว่า พระเจ้าเหา โดยให้เหตุผลว่า คำว่า เหา หรือ หาว เป็นคำไทยโบราณที่แปลว่า ฟ้า (อันนี้ผมหาข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้จริงๆว่าคำว่า เหา หรือ หาว แปลว่าท้องฟ้าจริงหรือเปล่า)

2. พระเจ้าเหา มาจากตึกพระเจ้าเหา ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดลพบุรี โดยเป็นชื่อของพระพุทธรูป เหมือนกับในข้อแรกแต่อธิบายคำว่า เหา ต่างออกไป โดยอธิบายว่าพระพุทธรูปองค์นี้อัญเชิญมาจากลานนา และเรียกกันว่า พระเจ้าหมู่เฮา ที่หมายถึง พวกเรา พระของพวกเรา น่าจะอย่างนั้น พอนานวันเข้าก็เหลือแค่คำว่า พระเจ้าเหา ว่างั้น

3. พระเจ้าเหา มาจากตึกพระเจ้าเหา ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดลพบุรี แต่ความหมายที่ จิตร ภูมิศักดิ์ และ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ให้ไว้ คำว่า เหา มาจากภาษาขอม/เขมร ที่แปลว่า เรียก พระเจ้าเหา ก็จะหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินเรียก

4. พระเจ้าเหา เป็นชื่อของจักพรรดิของจีน เมื่อประมาณ 2,154 ถึง 2,055 ปีก่อนพุทธศักราช พระเจ้าเหาที่ว่านี้น่าจะตรงกับพระเจ้าเหยา ว่ากันว่าเป็นต้นตระกูลไทยกันเลยทีเดียว

ว่ากันว่านี้คือรูปหน้าหลุมพระศพของพระเจ้าเหา หลุมพระศพนี้อยู่ที่ มณฑลซานตุง ประเทศจีน (ถ้าเป็นภาพวาดของพระเจ้าเหาจริง ก็คงเป็นภาพวาดมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกก็น่าจะได้)

อันนี้รูปตึกพระเจ้าเหา ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดลพบุรี

//รูปทั้ง 2 รูปนี้ขโมยมาจากอินเตอร์เน็ทผ่าน Google Image Search

]]>
https://www.unzeen.com/article/2164/feed/ 0
ว่าด้วยการท่องจำพยัญชนะในภาษาไทย https://www.unzeen.com/article/2115/ https://www.unzeen.com/article/2115/#respond Thu, 14 Mar 2013 16:57:17 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2115 ในสมัยแต่ก่อนการเรียนภาษาไทย เด็กจำเป็นที่จะต้องท่องจำพยัญชนะให้ได้ทั้ง 44 ตัว โดยท่องเป็น กอ ขอ คอ น่าจะคล้ายๆกับการท่อง เอ บี ซี แต่ด้วยพยัญชนะที่พ้องเสียงในภาษาไทยมีหลายตัวมาก ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะทำให้เด็กจำได้อย่างรวดเร็ว จึงได้มีผู้คิดชื่อหรือตัวอย่างในการใช้พยัญชนะแต่ละตัวขึ้นมา เพื่อจะได้ท่วงจำได้ง่ายๆ แล้วเราก็ท่องจนติดปากกันมาว่า ก ไก่ ข ไข่ แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครกันแน่ที่คิดคนแรก แต่เราจะมาไล่ดูตามหลักฐานที่พอจะมีในปัจจุบัน

พ.ศ. 2420 พระศรีสุนทรโวหาร ได้เขียนเรื่อง “วิธีสอนหนังสือไทย” โดยคิดคำกำกับพยัญชนะขึ้นใหม่ 27 ตัว เช่น ข ขัดข้อง, ฃ อังกุษ, ค คิด, ฅ กัณฐา ยกเว้นพยัญชนะ ศ ษ ส ซึ่งของเดิมมีคำกำกับใช้กันอยู่แล้ว (อันนี้ผมหาข้อมูลไม่ได้เหมือนกัน ที่ว่าของเดิมมีใช้กันอยู่แล้ว เขาใช้คำว่าอะไรกัน จะใช่ ส เสือ เหมือนที่เราใช้ทุกวันนี้หรือเปล่าก็ไม่ทราบ)

พ.ศ. 2442 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแต่งหนังสือแบบเรียนเร็ว ขึ้่น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการคิดชื่อกำกับพยัญชนะครบทั้ง 44 ตัว และมีการใช้คำว่า ก ไก่ ข ไข่ จนถึง ฮ นกฮูก ขึ้นเป็นครั้งแรกและมีการใช้ภาพประกอบแต่ละพยัญชนะด้วย ข้อสังเกต ในหนังสือเล่มนี้ใช้ ฃ ฃวด และ ฅ ฅอ

พ.ศ. 2453 ฟ. ฮีแลร์ พิมพ์หนังสือดรุณศึกษา โดยการจัดเรียงพยัญชนะตามกลุ่มเสียงสูง เสียงกลาง เสียงต่ำ และมีการใช้คำกำกับพยัญชนะบางคำที่แตกต่างจากหนังสือแบบเรียนเร็ว เช่น ฑ มณโฑ เป็น ฑ มณฑล

พ.ศ. 2458 โรงพิมพ์เจริญราษฎร์ ได้พิมพ์หนังสือมูลบทบรรพกิจ โดยมีตัวอย่างการใช้คำกำกับพยัญชนะว่า ก กบ, ข เขียด, ฮ อุปฮาด

พ.ศ. 2463 โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์ ได้จัดพิมพ์หนังสือมูลบทบรรพกิจของพระยาศรีสุนทรโวหารขึ้นใหม่ โดยในฉบับนี้ใช้คำว่า ก มะละกอ, ข ขอทาน, ฮ จีนฮ่อ

พ.ศ. 2473 ครูย้อย ทันนิเทศ ได้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนไว ซึ่งถือเป็นเล่มแรกที่มีการใช้กลอน คือ ก เอย ก ไก่ ข ไข่มาหา

พ.ศ. 2490 บริษัทประชาช่าง ได้พิมพ์หนังสือ แบบเรียน ก ไก่ ซึ่งเป็นแบบเรียนที่มีกลอนและแพร่หลายมาจนทุกวันนี้ นั้นก็คือ ก เอย ก ไก่ ข ไข่ ในเล้า

หมายเหตุ
1. พยัญชนะ ฅ ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงเป็นต้นมา ไม่เคยถูกนำมาใช้เขียนคำว่า คน ในเอกสารโบราณและในศิลาจารึก จะใช้ ฅ ในการสะกดคำว่า คอ (ฅอ) หมายถึง คอของเรานี้แหละ คอทีอยู่ระหว่างหัวกับตัว เช่นในวิธีสอนหนังสือไทย ของพระศรีสุนทรโวหาร ปี พ.ศ. 2420 ก็ใช้คำว่า ฅ กัณฐา (กัณฐา แปลว่า คอ แปลว่า Neck)

]]>
https://www.unzeen.com/article/2115/feed/ 0
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตและชนชาติอารยัน https://www.unzeen.com/article/2100/ https://www.unzeen.com/article/2100/#respond Mon, 25 Feb 2013 03:54:11 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2100 เมื่อประมาณ 1,500-3,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนชาติอารยัน (Aryan) ผู้สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ซึ่งเคยอาศัยอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย บริเวณทะเลสาบแคสเปี่ยนและทะเลดำ ได้อพยพเคลื่อนย้ายออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ
– กลุ่มที่ 1 ออกเดินทางเข้าสู่ทวีปยุโรป เป็นชนชาติกรีก
– กลุ่มที่ 2 ออกเดินทางเข้าสู่ตะวันออกกลาง เป็นชนชาติเปอร์เซียหรืออิหร่านในปัจจุบัน
– กลุ่มที่ 3 ออกเดินทางเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย (พระพุทธเจ้าของเราก็น่าจะเป็นชนชาติอารยัน) และได้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและภาษาระหว่างชาวอารยันกับชนพื้นเมืองคือพวกดราวิเดียน (Dravidian) การผสมผสานทางภาษานี้ทำให้เกิดภาษาใหม่ขึ้นมาชื่อภาษาปรากฤต ซึ่งเป็นการวิวัฒนาการร่วมกันของภาษาพระเวทของชาวอารยันเดิมกับภาษาท้องถิ่น

ชาวอารยันเป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติ และได้สร้างเทพเจ้าสำหรับปรากฏการณ์ต่างๆขึ้นมาเพื่อบูชา มีการสร้างบทสวดขึ้นมาเพื่อบวงสรวงสรรเสริญเทพเจ้า ในเวลาต่อมาบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าถูกจัดให้เป็นหมวดหมู่เรียกว่าไตรเพทหรือไตรเวท เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีคัมภีร์พระเวท 4 เล่ม คือ ฤคเวท, ยชุรเวท, สามเวท, อาถรรพเวท ภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์พระเวททั้ง 4 เป็นภาษาพระเวท จารึกด้วยอักษรเทวนาครี ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเดียโบราณ

– ภาษาสันสกฤต
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของคนชั้นสูง พราหมณ์จะใช้ติดต่อสือสารกับเทพเจ้า แต่เดิมนั้นไม่ได้วางหลักเกณฑ์เคร่งครัดนัก ต่อมาประมาณ 520 – 460 ปีก่อนคริสตกาล “ปาณินิ” นักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณ ได้ศึกษาคัมภีร์พระเวทและเห็นว่าภาษาพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามามาก ทำให้การประกอบพิธีกรรมไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเสียความบริสุทธิ์ของภาษา เขาจึงแต่งเป็นตำราไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตขึ้นเรียกชื่อว่า “อัษฎาธยายี” หมายถึงคัมภีร์ 8 บท หลังจากที่ปาณินิแต่งตำราไวยากรณ์นี้แล้ว เราเรียกภาษาที่จัดระเบียบใหม่นี้ว่า “ภาษาสันสกฤต” แต่จากตำราไวยากรณ์นี้ทำให้ภาษาสันสกฤต ไม่มีวิวัฒนาการเหมือนภาษาอื่นๆ และภาษาสันสกฤตเป็นภาษาตายในที่สุด แต่ถึงกระนั้นภาษาสันสกฤตก็เป็นภาษาที่ถูกนำมารจนาในวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ของดินเดียหลายเรื่อง เช่น มหาภารต, รามายณะ, ศกุลตลา, กามสูตร

– ภาษาบาลี
ภาษาบาลีเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากภาษาพระเวท ภาษาบาลีที่ชาวมคธใช้พูดกันในแคว้นมคธ เรียกว่า “ภาษามาคธี” และพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษานี้ประกาศพระศาสนาของพระองค์ ภาษาบาลีถูกนำมาใช้บันทึกพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 ปรากฏเป็นหลักฐานครั้งแรกในจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายหินยาน ในขณะที่ภาษาสันสกฤตถูกใช้เป็นภาษาประจำพุทธศาสนานิกายมหายาน และคำว่า บาลี หรือ ปาลิ เพิ่งจะปรากฏเป็นชื่อของภาษาเมื่อประมาณ 500 – 600 ปีที่ผ่านมานี้เอง

ข้อควรรู้ 1: คำว่า “หินยาน” ถูกใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 400 จนกระทั้งในการประชุมองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์โลกครั้งที่ 1 ที่ประเทศศรีลังกาในปี พ.ศ. 2493 ที่ประชุมมีมติให้เลิกใช้คำว่า หินยาน และให้ใช้คำว่า เถรวาท แทนในทุกกรณี

ข้อควรรู้ 2: เซอร์ วิลเลียม โจนส์ (พ.ศ.2289 – 2337) เป็นคนแรกที่สังเกตเห็นความเหมือนกันระหว่างภาษาที่เก่าแก่ที่สุด 4 ภาษา คือ ภาษาละติน, ภาษากรีก, ภาษาสันสกฤต, และ ภาษาเปอร์เซีย

]]>
https://www.unzeen.com/article/2100/feed/ 0
ว่าด้วยสงครามครูเสด https://www.unzeen.com/article/2079/ https://www.unzeen.com/article/2079/#respond Mon, 04 Feb 2013 16:52:46 +0000 http://www.unzeen.com/?p=2079 สงครามครูเสดคือสงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกาย หรือระหว่างชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่หมายถึงสงครามระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ครูเสดแปลว่า ติดด้วยเครื่องหมายกางเขน ซึ่งจะมีอัศวินและนักรบจากทั่วทั้งยุโรปเป็นกำลังรบสำคัญ โดยผมเคยเขียนเรื่องอัศวินแห่งกองทัพพระคริสต์ เอาไว้ก่อนหน้านี้นิดหน่อย โดยแรกเริ่มเดิมทีสงครามครูเสดต้องการที่จะทำเพื่อปลดแอกกรุงเยรูซาเล็มซึ่งถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ให้พ้นจากการปกครองของพวกมุสลิม แต่สงครามในช่วงหลังๆ กลับขยายอาณาเขตไปยังบริเวณอื่นๆด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ได้เกิดสงครามครูเสดขึ้นหลายครั้ง แต่เราจะนับเฉพาะครั้งใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด 9 ครั้งด้วยกัน (บางเล่มก็นับได้ 8 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการนับช่วงเวลาที่เกิดสงครามด้วย)

– สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-1101)
เรื่องเริ่มต้นขึ้นเมื่อ จักรพรรดิอเล็กเซียส คอมเมนุส ของจักรวรรดิไบเซนไทน์ หรือโรมันตะวันออกได้ถูกพวกเติร์กล้อมเมืองคอนสแตติโนเบิลเอาไว้ พระองค์เลยมีสาส์นไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 แห่งกรุงโรมเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาก็เห็นด้วยที่จะให้ความช่วยเหลือและจะได้ยกทัพไปเยรูซาเล็มด้วย ซึ่งพระองค์ได้ใช้การประชุมพระระดับสูงที่เกลอมองต์ในฝรังเศสในการประกาศเข้าร่วมสงคราม โดยสมเด็จพระสันตะปาปาประกาศให้สงครามครั้งนี้เป็น “สงครามตามปราถนาของพระเจ้า” (God Wills It) หรือ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” (Holy War) โดยกองทัพชาวคริสต์ประกอบไปด้วยกองทัพของปีเตอร์นักพรต กองทัพจากฝรังเศส อังกฤษ บุยยอง ซึ่งทั้งหมดเดินทางมาถึงและลอมเยรูซาเล็มในวันที่ 15 กรกฏาคม ค.ศ. 1099 ซึ่งกองทัพของมุสลิมก็พยายามต่อต้านอย่างหนักแต่ก็ต้านทานกองทัพของฝ่ายคริสต์ไว้ไม่ได้จึงพ้ายแพ้ไป แต่ก็เป็นครั้งเดียวที่ฝ่ายคริสต์สามารถเอาชนะมุสลิมได้

– สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1147-1149)
หลังจากที่ปล่อยให้ฝ่ายคริสต์ครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ทางฝ่ายมุสลิมก็เริ่มสะสมกำลังพล นำโดย นูรุดดีน มะฮ์มูด บุตรของ อิมาดุดดิน ซังกี เป็นกำลังสำคัญในการยึดเมืองอาเลปโป เมื่องเอเดสสา และอีกหลายเมือง แต่ไม่ได้เยรูซาเล็ม ส่วนทางฝ่ายคริสต์พวกขุนนางและอัศวินต่างๆ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือมากนัก จะมีก็แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรังเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันนี พระมเหสีเอเลเนอร์ แห่งอังกฤษ ที่เข้าร่วมไปกับกองทัพ แต่สงครามครั้งนี้ฝ่ายคริสต์แพ้อย่างย้อยยับและต้องกลับบ้านด้วยความผิดหวัง

– สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1187-1192)
ต่อมาเกิดปัญหาภายในดามัสกัส นูรุดดีนได้ยกทัพไปยึดดามัสกัสเอาไว้ ซึ่งทำให้ คอลีฟะฮ์แห่งกรุงแบกแดดประทานตำแหน่งให้เป็น อัล มาลิก อัล อาดีล (กษัตริย์ผู้ทรงธรรม) ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1164 กองทัพของพวกแฟรงค์และกรีกซึ่งเป็นชาวคริสต์ได้โจมตีนูรุดดีนอย่างหนัก แต่นูรุดดีนก็สามารถเอาชนะและยึดเมืองมาได้อีกหลายเมือง และพยายามเข้ายึดเยรูซาเล็ม ในปี ค.ศ. 1169 ซาลาดีน ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งกรุงไคโร แห่งอียิปต์ ต่อมาปี ค.ศ. 1174 นูรุดดีนเสียชีววิตทำให้ซาลาดีนมีอำนาจเด็ดขาดเหนืออียิปต์ หิจญาซ และยะมัน ต่อมาในปี 1191 กองทัพฝ่ายคริสต์นำโดยพระเจ้าฟิลิปป์ออกุสต์ แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ แห่งอังกฤษได้นำทัพมาต้านการรุกคืบของซาลาดิน สงครามครั้งนี้มีความพยายามในการเจรจาสงบศึกกันหลายครั้ง จนในที่สุด 2 กันยายน 1192 ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกถาวร และพระเจ้าริชาร์ดได้ยกทัพกลับ แต่พระองค์กลับถูกพวกคริสต์ด้วยกันจับกุมตัวไว้และให้ทางอังกฤษส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวกลับไป และเยรูซาเล็มก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมอีกครั้ง

– สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202-1204)
แรกเริ่มเดิมทีหวังจะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมาจากฝ่ายมุสลิม แต่หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ทางยุโรปก็หมดความสนใจที่จะต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดครั้งใหม่ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 มีพระประสงค์จะให้ทำสงครามครั้งใหม่ แต่ไม่มีกษัตริย์ในยุโรปพระองค์ใดสนพระทัย เพราะต่างก็ติดพันสงครามภายในอณาจักรของตัวเองอยู่ แต่แล้วในเดือนเมษายน 1024 ก็มีกองทัพครูเสดจากยุโรปตะวันตกได้เข้าไปบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล อันเป็นเมืองหลวงของจักวรรดิ์ไบเซนไทน์

– สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1217-1221)
สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพนำโดย เลฌอโปลด์ที่ 4 แห่งออสเตรีย สมเด็ดพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี กองทัพเยอรมันนีนำโดยโอลิเวอร์ แห่งโคโลญ ได้นำทัพไปบุกอียิปต์ แต่ก็พ้ายแพ้กลับมา

– สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (ค.ศ. 1228-1229)
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงเสกสมรสกับโยลันเดอ แห่งเยรูซาเล็ม พระธิดาของจอร์น แห่งบริแอนน์ ทำให้พระองค์อ้างสิทธิ์โดยชอบธรรมในการบุกยึดเยรูซาเล็ม แต่ระหว่างเดินทางเกินโรคระบาดเสียก่อนจึงต้องยกทัพกลับ

– สงครามครูเสดครั้งที่ 7 (ค.ศ. 1248-1254)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้พยายามทำการโจมตีอียิปต์ แต่พระองค์ถูกฝ่ายมุสลิมจับตัวไว้ได้ และต้องให้ทางฝรังเศสส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวกลับไป

– สงครามครูเสดครั้งที่ 8 (ค.ศ. 1270)
เดือนกรกฏาคม 1270 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้ยกทัพไปโจมตีตูนิสเพื่อจะใช้เป็นที่มั่นในการโจมตีอียิปต์ต่อไป แต่การยกทัพไปแอฟริกาในครั้งนั้น ต้องเจอกับโรคภัยต่างๆ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เองก็ทรงสวรรคตด้วยโรคท้องร่วง ส่วนทหารที่เหลือก็เจอกับโรคภัยต่างๆเช่นกัน ทำให้ต้องยุติสงครามกับตูนิสและไปไม่ถึงอียิปต์อย่างที่ตั้งใจ

– สงครามครูเสดครั้งที่ 9 (ค.ศ. 1271-1272)
สงครามครั้งนี้ทางฝ่ายคริสต์มีผู้นำทัพหลายคนเช่น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แห่งอังกฤษ โบฮีมอนต์ที่ 6 แห่งแอนติออค อบาคา ข่านแห่งมองโกเลีย และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย ส่วนทางฝ่ายมุสลิมนำทัพโดย ไบบาร์ โดยสงครามครั้งนี้ยุติลงเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 สวรรคตลงในปี 1464

]]>
https://www.unzeen.com/article/2079/feed/ 0
กบฏ , ปฏิวัติ , รัฐประหาร ในยุครัตนโกสินทร์ https://www.unzeen.com/article/1998/ https://www.unzeen.com/article/1998/#respond Wed, 09 Jan 2013 11:26:01 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1998 นิยาม
– ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบหนึ่งไปเป็นอีกระบอบหนึ่ง
– รัฐประหาร หมายถึง การล้มลางการปกครองของรัฐบาลหรือผู้ปกครอง แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองใหม่
– กบฏ หมายถึง ผู้ที่พยายามทำการ ปฏิวัติ/รัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ

# ปฏิวัติ
การปฏิวัติเคยเกิดขึ้นเพี่ยงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพื่อเปลียนแปลงจากการครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดย “คณะราษฎร”

# รัฐประหาร
การรัฐประหารเคยเกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้ง ทั้งหมดเกิดจากกองกำลังของฝ่ายทหารบก

1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476
นำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491
นำโดยคณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ยึดอำนาจรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์

5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม

7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร

8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ

# กบฏ
กบฏเกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้ง และยังมีกบฏผีบุญซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนภาคอีสานอีกหลายสิบครั้ง แต่ไม่นับรวมในนี้ อนึ่งกบฏผีบุญ หรือ กบฏผู้มีบุญ เป็นการนำของผู้ที่อ้างตัวว่ามีบุญบารมีกลับชาติมาเกิด หรืออ้างเป็นพระศรีอาริย์ มีการรวมตัวต่อต้านอำนาจของรัฐที่ทำให้มีผลกระทบต่อท้องถิน

1. กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง (พ.ศ. 2454)
โดย คณะ ร.ศ. 130 (เป็นความพยายามเปลียนแปลงการปกครองครั้งแรก)

2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม พ.ศ. 2476)
โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า

3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า

4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482)
โดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า

5. กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491)
โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน

6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)

7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492)
โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า

8. กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494)
โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา

9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497)

10 กบฏ พ.ศ. 2507 (1 ธันวาคม พ.ศ. 2507)
โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า

11. กบฏ 26 มีนาคม 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520)
โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า

12. กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524)
โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า

13. กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528)
โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า

]]>
https://www.unzeen.com/article/1998/feed/ 0
ตำนานการกวนเกษียรสมุทร https://www.unzeen.com/article/1976/ https://www.unzeen.com/article/1976/#respond Sun, 23 Dec 2012 14:15:56 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1976 เมื่อนานมาแล้วเทพและยักษ์ได้สู้รบกันเพื่อแย้งชิงสวรรค์อันเป็นพื้นที่เดิมของพวกยักษ์ ในสมัยนั้นทั้งเทพและยักษ์ต่างมีฤทธิ์พอๆกัน เนื่องจากต่างฝากก็มักจะได้รับพรจากพระศิวะและพระพรหมมาทั้งนั้น (ปกติแล้วถ้าใครบำเพ็ญเพียรจนเป็นที่น่าพอใจและไปขอพรจากพระศิวะ พระองค์ก็จะให้พรกับทุกๆคนโดยไม่เลือกว่าจะเป็นฝ่ายไหน ต่อมาจึงมีพระพิฆเนศวร คอยทำหน้าที่สร้างอุปสรรค ไม่ให้ใครเข้าไปขอพรกันได้ง่ายๆ “พระพิฆเนศวร แปลว่าเจ้าแห่งอุปสรรค”)

โดยฝ่ายเทพนำโดยพระอินทร์ ได้พยายามทุกวิธีทางเพื่อจะยึดสวรรค์มาให้ได้ แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ยึดไม่ได้สักที ด้วยเหตุว่าพระอินทร์ถูกฤาษีตนหนึ่งสาปไว้ ให้หมดฤทธิ์อำนาจ เนื่องจากเอาดอกไม้ที่ฤาษีถวายไปให้ช้างเอราวัณเหยียบ (จะว่าไปพระอินทร์นี้ไม่ได้เก่งเรื่องการรบเอาซะเลย เก่งแต่เรื่องผู้หญิง เป็นผู้ที่สร้างปัญหาจากเรื่องผู้หญิงได้ตลอดๆ)

เมื่อสู้ยังไงก็สู้ไม่ได้พระอินทร์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากพระศิวะและพระพรหม แต่พระศิวะและพระพรหมไม่เล่นด้วย ด้วยถือว่าพรอันใดได้ให้ใครไปแล้วก็ให้ไปเลย พระอินทร์จึงเหลือที่พึงสุดท้ายคือพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ให้ช่วย ซึ่งพระนารายณ์ก็แนะนำให้ไปทำพิธีกวนเกษียรสมุทรในทะเลน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มจะได้มีพลังและไม่มีวันตาย แต่การจะกวนกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์เลยออกบุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกยักษ์และชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร ได้น้ำอมฤตมาเท่าไรเราค่อยมาแบ่งกัน (ในใจลึกๆก็คิดว่าอย่าหวังว่าจะได้กินเลยไอ้ยักษ์) จากนั้นพระอินทร์ก็ให้นาควาสุกรีมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก (หลอกนาคมาอีกหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าสุดท้ายนาคก็ไม่ได้อะไร)

เมื่อเริ่มพิธีกวนเกษียรสมุทร ได้ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนทะเลน้ำนมที่อยู่ในไวกูณฑ์สวรรค์ โดยพระอิทร์คิดไว้อยู่แล้วว่าถ้าชักนาคเมื่อไรนาคจะต้องเจ็บปวดมากและต้องพ้นพิษออกมาแน่ๆ พระอินทร์จึงให้ยักษ์อยู่ทางหัวของนาค และให้เทพอยู่ทางหาง เมื่อเริ่มกวนนาคก็พ้นไฟพิษมาโดนยักษ์ ต่างก็ทรมานทั้งยักษ์ทั้งนาค จะมีสบายก็แต่เทพ ชักแบบชิวๆ พิธีกรรมนี้ใช้เวลาชักเป็นพันๆปีกว่าจะได้น้ำอมฤต และในระหว่างนี้ก็มีของวิเศษหลายอย่างที่ได้ออกมาก่อนน้ำอมฤตซะด้วยคือ

1.ดวงจันทร์ (พระศิวะเอาไปปักผม)
2.เพชรเกาสตุภะ
3.ดอกบัวลอยขึ้นมาพร้อมพระลักษมี
4.วารุณี เทวีแห่งสุรา
5.ช้างเผือกเอราวัณ (พระอินทร์เอาไปใช้)
6.ม้าอุจฉัยศรพ
7.ต้นปาริชาติ
8.โคสุรภี หรือ โคอุสุภราช พร้อมของหอม
9.หริธนู
10.สังข์
11.ปวงเทพีอัปสรสวรรค์ (มีนางอัปสรออกมาเยอะมาก พระอินทร์เอาคนเดียวไม่แบ่งใคร)
12.พิษร้าย ฝูงนาคและงูสูบพิษไว้
13.ธันวันตริ แพทย์สวรรค์
14.หม้อน้ำทิพย์อมฤต

เมื่อพากันกวนจนได้น้ำอมฤตแล้วพวกยักษ์เห็นนางอัปสรซึ่งสวยมักๆ ก็พากันไล่จับนางอัปสร จนลืมว่าที่ตัวเองมาเนี้ยมาเอาน้ำอมฤตนะเฟ้ย ในระหว่างที่พวกยักษ์ไล่จับนางอัปสร พวกเทพก็พากันมาต่อคิวดื่มน้ำอมฤต แต่ไม่ใช่ว่ายักษ์ทุกตนจะบ้าผู้หญิงนะ ยังมีพระราหูที่ไม่บ้าจี้ไปไล่จับนางอัปสร ก็มาต่อคิวดื่มน้ำอมฤตกับเค้าด้วย ในระหว่างที่พระราหูกำลังดื่มอยู่นั้น พระอาทิตย์กับพระจันทร์เห็นเข้าก็ไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์เลยขว้างจักรมาตัดหัวพระราหู แต่ด้วยอำนาจของน้ำอมฤตที่ดื่มไปทำให้พระราหูไม่ตาย แต่ก็เหลือแต่หัวมาจนทุกวันนี้ และพระราหูก็โกรธพระอาทิตย์กับพระจันทร์มาก เจอที่ไหนจะต้องเอามาอมเล่นให้ได้

กว่าพวกยักษ์จะรู้ว่าตัวเองโดนหลอก น้ำอมฤตก็หมดแล้ว นางอัปสรก็จับไม่ได้ แถมยังต้องเสียพื้นที่บนสวรรค์ให้กับพวกเทพอีก น่าสงสารเป็นยิ่งนัก

——————————————————————–
เรื่องนี้เป็นตำนานเชิงสัญลักษณ์ของการสู้รบระหว่างชาวอารยันกับชาวดราวิเดียน (ฑราวิท) โดยชาวอารยันอพยพมาจากเอเชียกลาง มายังอินเดียในปัจจุบัน ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของพวกดราวิเดียน และก็อย่างที่รู้พวกอารยันชนะ

ส่วนพระอินทร์ก็เป็นตัวแทนของแม่ทัพอารยัน และก็ไม่ได้เป็นคนดีอะไร ออกจะเจ้าชู้ซะด้วย เห็นเมียใครสวยถูกใจไม่ได้ แอบไปทำชู้กับเค้าซะหมด มีหลายครั้งที่พระอินทร์โดนสาปเพราะไปเป็นชู้กับเมียฤๅษี เช่นโดยสาปไปเป็นหินบ้าง โดนสาปให้มีโยนี (อวัยวะเพศหญิง) ขึ้นเต็มตัวจนไม่กล้าออกไปไหนก็มี จนต้องมีคนมาช่วยวาดโยนีทั้งหมดให้ดูเหมือนลูกตาแกถึงกล้าออกไปเจอหน้าผู้คน

ปกติทุกตำนานมันก็จะมีที่มาจากเรื่องจริงนานวันเข้าก็กลายเป็นเทพนิยาย แต่เค้าโครงก็ยังเหมือนเดิมอยู่

เรื่องจริง -> เรื่องเล่า -> ตำนาน -> เทพนิยาย

]]>
https://www.unzeen.com/article/1976/feed/ 0
ว่าด้วยจักรวรรดิเยอรมัน https://www.unzeen.com/article/1971/ https://www.unzeen.com/article/1971/#respond Wed, 19 Dec 2012 03:56:28 +0000 http://www.unzeen.com/?p=1971 เวลาเราดูหนังสงครามโลกครั้งที่สอง หนังเกียวกับนาซี เราจะได้ยินชื่อ “จักรวรรดิไรซ์ที่สาม” บ่อยมากๆ เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า แล้วจักรวรรดิไรซ์ที่ 1 และ 2 มันคืออะไร อยู่ที่ไหน อยู่ๆ ฮิตเลอร์คงไม่สถาปณาจักรวรรดิขึ้นมาลอยๆ

จักรวรรดิไรซ์ที่หนึ่ง : คือ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 962 – ค.ศ. 1806) เป็นคนละจักรวรรดิ กับ “จักรวรรดิโรมันโบราณ” มีศูนย์กลางอยู่ที่เยอรมันนี,อิตาลี,ฝรังเศส แม้ว่าจะมีคำว่าโรมันอยู่ในชื่อแต่กรุงโรมก็ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ล้มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 ในสงครามนโปเลียน

จักรวรรดิไรซ์ที่สอง : เกิดขึ้นจากการรวมชาติเยอรมันนี , ปรัสเซีย , บาวาเรีย , แซกโซเนีย เข้าเป็นประเทศเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1871 ภายใต้การนำของ “จักรพรรดิวิลเฮล์มที่หนึ่ง” และนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย “ออทโท ฟอน บิสมาร์ค” จักรวรรดิไรซ์ที่สองล้มสลายหลังเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1

จักรวรรดิไรซ์ที่สาม : เริ่มขึ้นเมื่อพรรคนาซีของฮิตเลอร์ ชนะการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1933 และล้มสลายลงหลังในปี ค.ศ. 1945 หลังจากเยอรมันนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

]]>
https://www.unzeen.com/article/1971/feed/ 0