Open Source License มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาโปรแกรมจะเลือกให้โปรแกรมของตัวเองเป็นแบบไหน โดยแบบที่เห็นๆกันบ่อยๆก็มี GPL, LGPL, Apache, BSD, CC โดยจะอธิบายสั้นๆ อาจไม่ละเอียด แต่ก็น่าจะทำให้พอเห็นภาพได้บ้าง
GNU General Public License (GPL)
// หากเรานำ source code ไปทำการแก้ไข หรือ เขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่เพื่อให้เรียกใช้ function หรือ class หรือ library หรืออะไรก็แล้วแต่จาก source code ตัวนั้น โปรแกรมใหม่ที่เราทำขึ้นก็จะต้องมี license เป็น GPL ตามไปด้วย
GNU Lesser General Public License (LGPL)
// หากเราทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเรียกใช้ function หรือ class หรือ library หรืออะไรก็แล้วแต่จาก source code ที่เป็น LGPL โปรแกรมใหม่ที่เราพัฒนาขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็น LGPL แต่ส่วนของ source code ชุดเดิมก็ยังคงเป็น LGPL อยู่
Apache License
// ให้แสดงในเอกสารว่าเราได้ใช้ source code หรือ library ที่เป็น Apache License ส่วนโปรแกรมที่เราพัฒนาขึ้นมาใหม่จะใช้ license แบบไหนก็ได้
BSD Licenses
// ง่ายๆ สั่นๆ จะเอาไปทำอะไรก็ได้ และ source code ที่ได้ทำการแก้ไขก็ไม่จำเป็นต้องส่งกลับ แต่ขอให้แสดงไว้ในเอกสารว่ามีส่วนของโปรแกรมที่พัฒนาต่อมาจาก source code ที่เป็น BSD License (มันต่างอะไรกับ Apache License เนี้ย)
Creative Commons Licenses
// ถูกนำไปใช้ในลิขสิทธิ์ของผลงาน โดยอาจเป็นผลงานการเขียน รูปภาพ หรือการออกแบบ โดยเจ้าของผลงานสามารถเลือกได้ว่าผลงานของตัวเองจะให้มี license เป็นแบบไหน เช่น แสดงที่มา , แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า , แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://en.wikipedia.org/wiki/Category:Open_source_licenses
ปล. ของอะไรที่มีอยู่แล้ว หากเราไม่พอใจ จงทำมันขึ้นมาใหม่เอง อย่ารอให้คนอื่นทำ