แรกเริ่มเดิมทีชนชาติแถบสุวรรณภูมิ ยังไม่มีตัวอักษรใช้กัน (สุวรรณภูมิ ไม่ใช่ชื่อ “รัฐ” หรือ “อาณาจักร” แต่เป็นชื่อที่เรียกบริเวณทั้งหมดในอุษาคเนย์ เหมือนที่เราเรียก อินเดีย-เนปาล ว่าชมพูทวีป) โดยรูปแบบของอักษรในแถบสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดได้ตัวแบบมาจากอักษรพราหมีและอักษรปัลลวะ
- เรื่องราวเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 เกิดมีอักษรพราหมีขึ้นในอินเดีย และเป็นต้นแบบของอักษรในอินเดียอีกหลายตระกูล ตำราว่างั้น (อันที่จริงน่าจะมีอักษรแบบอื่นที่เป็นต้นแบบของอักษรพราหมีแต่ผมหาข้อมูลไม่เจอ)
- จากนั้นเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11 (บางตำราอ้างกลับไปถึง พุทธศตวรรษที่ 9 ก็ว่ากันไป) อักษรปัลลวะซึงได้พัฒนาต่อจากอักษรพราหมีได้แพร่กระจ่ายจากอินเดียใต้เดินทางมาถึงสุวรรณภูมิ โดยเริ่มมีการใช้ในอาณาจักรทวารวดี , ศรีวิชัย , เจินละ อักษรปัลลวะถูกนำมาใช้และรุ่งเรื่องอยู่ในสุวรรณภูมิประมาณ 200 ปี
- ตัวอักษรก็มีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไปรูปแบบของตัวอักษรก็จะเปลียนจากเดิมมีการเพิ่มเติมหรือลดรูปตัวอักษรบ้าง แต่ลักษณะโดยรวมและอักขรวิธีก็ยังเป็นอักษรปัลลวะอยู่ดี ช่วงนี้เรียกว่า “อักษรหลังปัลลวะ” กินเวลาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 13 ถึง พุทธศตวรรษที่ 15
- หลังจากอาณาจักรในแว้นแควนสุวรรณภูมิได้รับอักษรปัลลวะมาใช้กันแล้วถึง 500 ปี ก็เริ่มมีการปรับปรุงตัวอักษรให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละอาณาจักรกันมากขึ้น ดังนี้
- อักษรมอญโบราณ ใช้ในอาณาจักรหริภุญชัย ในชวง พุทธศตวรรษที่ 17 ถึง พุทธศตวรรษที่ 18
- อักษรขอมโบราณ ใช้ในอาณาจักรขอมสมัยพระนคร (อาณาจักรเจินละเดิม) ในช่วง พุทธศตวรรษที่ 15 ถึง พุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งอักษรขอมโบราณนี้หละที่จะมาเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทย
- อักษรกวิ ใช้ในอาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18
- อักษรไทย มีกำเนิดที่รัฐละโว้ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 (ในหนังสือเรียนสมัยเด็กๆที่สอนว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทยนั้นคงเป็นด้วยเรื่องการทางเมืองที่พยายามยัดเยียดชาตินิยมให้เรามากกว่า หาได้มีความจริงไม่ ความจริงคงมีอยู่แค่เพียงว่าพระองค์ให้ทำการจารึกเรื่องต่างๆลงศิลาจารึก และกำหนดอักขรวิธีการเขียนให้ต่างไปจากเดิมเท่านั้น) โดยอักษรไทยได้ตัดเอาตัวเชิงและศก ที่มีในอักษรขอมออกไปเพื่อให้เขียนง่ายขึ้น
ทีนี้ลองมาดูกันว่าส่วนไหนของอักษรขอมที่เรียกว่าอะไรและอักษรไทยตัดส่วนไหนทิ้งไป ตัวอย่างนี้เราจะใช้ พยัญชนะ ”ก” เป็นตัวเปรียบเทียบ ถ้าถามว่าทำไมต้องตัว ก ก็บอกได้ว่าในหนังสือที่อ้างอิงแต่ละเล่มก็มักใช้ตัวนี้ไม่รูทำไม คงง่ายกว่าตัวอื่นหละมัง โดยตัวอักษรขอมจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
- ศก เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของตัวอักษร (ศก เป็นภาษาเขมรแปลว่า ผม)
- ตัว เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของตัวอักษร ไม่ต้องแปลเป็นภาษาอะไรเพราะว่ามันคือตัว
- เชิง เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของตัวอักษร (เชิง เป็นภาษาเขมรแปลว่า เท้า,ตีน) ความสำคัญของตัวเชิงคือตัวเชิงจะถูกนำไปใช้เมื่อต้องการนำไปเป็นตัวควบกล่ำหรือตัวสะกด โดยในอักขรวิธีการเขียนอักษรขอมจะต้องนำตัวควบกล่ำหรือตัวสะกดไปวางไว้ใต้ตัวอักษรอื่น และตัวอักษรก็เหมือนคนการจะเอาทั้งตัวอักษรไปไว้ใต้ตีนคนอื่นมันไม่ควร ก็เลยให้เอาไปแค่ตีนของตัวอักษรนั้นๆไปแทน
ทีนี้มาดูรูปในอักษรขอมกันสักเล็กน้อย จากรูปเป็นพยัญชนะ “ก” จะเห็นว่าหากเราตัด ศก และ เชิง ออกไป จะเหลือแค่ส่วนตัว ซึ่งก็จะเห็นเค้าลางของตัว “ก” ในของอักษรไทย
ตารางวิวัฒนาการตัวอักษรโบราณโดยสังเขป
ก่อนจบ มาดูความเหมือนและแตกต่างของตัวเลข ไทย เขมร ลาว กันอีกสักนิด
อ้างอิง :
- หนังสือ อักษรไทยมาจากไหน ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
- หนังสือ ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ ของ รศ.กรรณิการ์ วิมลเกษม
- http://th.wikipedia.org/wiki/เลขอารบิก