นิยาม
– ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบหนึ่งไปเป็นอีกระบอบหนึ่ง
– รัฐประหาร หมายถึง การล้มลางการปกครองของรัฐบาลหรือผู้ปกครอง แต่ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองใหม่
– กบฏ หมายถึง ผู้ที่พยายามทำการ ปฏิวัติ/รัฐประหาร แต่ไม่สำเร็จ
# ปฏิวัติ
การปฏิวัติเคยเกิดขึ้นเพี่ยงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เพื่อเปลียนแปลงจากการครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดย “คณะราษฎร”
# รัฐประหาร
การรัฐประหารเคยเกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้ง ทั้งหมดเกิดจากกองกำลังของฝ่ายทหารบก
1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476
นำโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491
นำโดยคณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ยึดอำนาจรัฐบาล นายควง อภัยวงศ์
5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6. รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร
8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
10. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ
# กบฏ
กบฏเกิดขึ้นทั้งหมด 13 ครั้ง และยังมีกบฏผีบุญซึ่งเกิดขึ้นในชุมชนภาคอีสานอีกหลายสิบครั้ง แต่ไม่นับรวมในนี้ อนึ่งกบฏผีบุญ หรือ กบฏผู้มีบุญ เป็นการนำของผู้ที่อ้างตัวว่ามีบุญบารมีกลับชาติมาเกิด หรืออ้างเป็นพระศรีอาริย์ มีการรวมตัวต่อต้านอำนาจของรัฐที่ทำให้มีผลกระทบต่อท้องถิน
1. กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง (พ.ศ. 2454)
โดย คณะ ร.ศ. 130 (เป็นความพยายามเปลียนแปลงการปกครองครั้งแรก)
2. กบฏบวรเดช (11 ตุลาคม พ.ศ. 2476)
โดย คณะกู้บ้านกู้เมือง มี พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นหัวหน้า
3. กบฏนายสิบ (3 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
โดย สิบเอกสวัสดิ์ มะหะมัด เป็นหัวหน้า
4. กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือ กบฏ 18 ศพ หรือ กบฏ พ.ศ. 2481 (29 มกราคม พ.ศ. 2482)
โดย พันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นหัวหน้า
5. กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล หรือ กบฏ 1 ตุลาคม (1 ตุลาคม พ.ศ. 2491)
โดย พลตรีหลวงศรานุชิต (สมบูรณ์ ศรานุชิต) และพลตรีเนตร เขมะโยธิน
6. กบฏแบ่งแยกดินแดน (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
7. กบฏวังหลวง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492)
โดย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า
8. กบฏแมนฮัตตัน หรือ กบฏทหารเรือ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2494)
โดย นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา และ นาวาตรีมนัส จารุภา
9. กบฏสันติภาพ (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497)
10 กบฏ พ.ศ. 2507 (1 ธันวาคม พ.ศ. 2507)
โดย พลอากาศเอกนักรบ บิณศรี เป็นหัวหน้า
11. กบฏ 26 มีนาคม 2520 (26 มีนาคม พ.ศ. 2520)
โดย พลเอกฉลาด หิรัญศิริ เป็นหัวหน้า
12. กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย (1-3 เมษายน พ.ศ. 2524)
โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา เป็นหัวหน้า
13. กบฏทหารนอกราชการ หรือ กบฏ 9 กันยา (9 กันยายน พ.ศ. 2528)
โดย พันเอกมนูญ รูปขจร และพลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้า