Raspberry Pi เองเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่รัน Linux อยู่ภายใน และตัว Raspbian ซึ่งเป็น OS ที่เราได้ทำการ Write Images File ลง SD-Card ไปเมื่อคราวที่แล้วก็ถูกดัดแปลงมาจาก Debian ฉะนั้นคำสั่งต่างๆ ที่เราจะใช้สำหรับลงโปรแกรมก็จะเป็นคำสั่งเดียวกับของ Debian นั้นก็คือ apt-get ด้วยความที่ตัวผมเองถนัดเขียนเว็บและใช้ PHP กับ MySQL เป็นหลัก ดังนั้นวันนี้เราจะมาลองทำการติดตั้ง Apache, PHP, MySQL บน Raspberry Pi กันดูบ้าง ว่าจะสามารถทำงานเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้หรือเปล่า เริ่มจาการต่อสายแลนและแหล่งจ่ายไฟให้ Raspberry Pi ให้เรียบร้อย จากนั้นทำการ Login เข้า Raspberry Pi และเริ่มติดตั้งแพคเกจต่างๆ กันต่อ..
เริ่มด้วยการอัพเดทแพคเกจ (ขั้นตอนนี้อาจจะนานหน่อย หากาแฟทานรอได้เลยครับ)
1 2 | sudo apt-get update sudo apt-get upgrade |
ทำการติดตั้ง Apache, MySQL , PHP , phpMyAdmin
1 2 3 4 | sudo apt-get install apache2 sudo apt-get install mysql-server sudo apt-get install php5 sudo apt-get install phpmyadmin |
ในขั้นตอนการติดตั้ง MySQL ระบบจะขึ้นหน้าจอมาให้เราใส่รหัสผ่านของ MySQL ตั้งว่าอะไรก็ได้ครับ (แต่จำให้ได้ด้วยนะ)
ในขั้นตอนการติดตั้ง phpmyadmin ระบบจะขึ้นหน้าจอมาให้เลือกว่าจะใช้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ตัวไหน ให้เราใช้ปุ่มลูกศรในการเลื่อนไปยังตัวเลือกที่ต้องการ และใช้ space bar ในการเลือกตัวเลือก และกด tab เพื่อเลื่อนให้เคอร์เซอร์มาอยู่ที่ปุ่ม OK แล้วกด Enter (ในที่นี้เราเลือกเป็น apache2 ครับ)
ทำการคอนฟิกและเพิ่มความปลอดภัยให้ MySQL โดยการลบ Database Test และ Anonymous Users ของ MySQL ออกจากระบบ โดยใช้คำสั่ง mysql_secure_installation ในขั้นตอนนี้กด Y ลงไปหมดทุกอันเลยก็ได้ครับ
1 | sudo mysql_secure_installation |
สร้างไฟล์ info.php ที่ /var/www/info.php
1 | sudo nano /var/www/info.php |
พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงไฟล์
1 2 3 4 5 | <?php phpinfo(); ?> |
สั่ง Restart Apache และ MySQL
1 2 | sudo service apache2 restart sudo service mysql restart |
ทดสอบเปิดเว็บดูได้ครับ
http://192.168.8.102/info.php
http://192.168.8.102/phpmyadmin
ก่อนจบวันนี้มาทบทวนคำสั่งเกียวกับการติดตั้งแพคเกจกันก่อน อย่างที่ทราบแล้วว่า Raspbian ถูกพัฒนามาจาก Debian ดังนั้นคำสั่งต่างๆที่ใช้ก็จะเหมือนกับของ Debian เกือบทั้งหมด
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 | sudo apt-get update //อัพเดทแพคเกจอินเด็กซ์ sudo apt-get upgrade //อัพเกรดแพคเกจที่ติดตั้งทั้งหมด sudo apt-get install package_name //ติดตั้งแพคเกจที่ต้องการ sudo apt-get remove package_name //ลบแพคเกจ แต่จะไม่ลบคอนฟิกไฟล์ sudo apt-get --purge remove package_name //ลบแพคเกจและลบคอนฟิกไฟล์ sudo apt-get autoremove package_name //ลบแพคเกจที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับแพคเกจนี้และไม่มีใครใช้ออกไปด้วย sudo apt-cache pkgnames package_name //ค้นหาแพคเกจที่ชื่อขึ้นต้นด้วย package_name sudo apt-cache search package_description //ค้นหาแพคเกจที่มีคำว่า package_description sudo apt-cache show package_name //แสดงรายละเอียดของแพคเกจ |
อีกนิดก่อนจบ ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการใช้คำสั่ง sudo ก่อนคำสั่งอื่นๆ เหมือนอย่างที่ทำมาวันนี้ ให้เราทำการเปลี่ยนตัวเองเป็น root โดยใช้คำสั่ง sudo su – ซึ่งพรอมพ์ของเราก็จะเปลี่ยนจาก $ เป็น # ซึ่งเป็น root ของระบบ
1 | sudo su - |