ซุนวู เป็นผู้เขียน ตำราพิชัยสงคราม ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของจีน และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง โดยมีคำกล่าวที่เรารู้จักกันดีคือ “รู้เข้ารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
ซุนวู เป็นชาวเล่ออาน ซึ่งอยู่ในแคว้นฉี ในสมัยปลายของยุคซุนชิว ซึ่งเป็นยุคเดี่ยวกับขงจื๊อ (ก่อนคริสตศักราช ประมาณ 551 – 497 ปี) (วงเล็บอีกที ยุคเดี่ยวกับพระพุทธเจ้า ยุคนี้มีนักปราชญ์เยอะจริงๆ) ต่อมาแคว้นฉีเกิดการกบฏจราจล ซุนวูจึงหลบหนี้เข้าไปอยู่ที่แคว้นอู๋ และได้เข้ารับราชการเป็นแม่ทัพของแคว้นอู๋ในเวลาต่อมา และได้เขียนตำราพิชัยสงครามขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งมีอยู่ 13 บท และเป็นที่รู้จักกันดีจวบจนปัจจุบัน
พิชัยสงครามซุนวู
บทที่ 1 : ประมาณสถานการณ์
อันการสงคราม เป็นเรื่องใหญ่ของรัฐ คือวิธีแห่งการคงอยู่หรือล่มสลายของรัฐ เกี่ยวพันถึงชีวิตของไพรพลและราษฎร จะไม่วิเคราะหาได้ไม่ เพราะฉะนั้น เราต้องคำนึงถึงปัญหาพื้นฐาน 5 ประการ แล้วเปรียบเทียบสภาพของข้าศึกกับเรา เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะ ปัญหาพื้นฐาน 5 ประการคือ
มรรค (ความเป็นธรรม), ฟ้า (ภูมิอากาศ), ดิน (ภูมิประเทศ), แม่ทัพ (ผู้นำที่เปี่ยมด่วยสติปัญญา), กฏ (ระเบียบวินัยของกองทัพ)
บทที่ 2 : การทำศึก
กรีธาทัพหนึ่งแสน ซึ่งมีรถศึกเทียมด้วยม้าสี่ตัวพันคัน รถหุ้มเกราะหนังพันคัน พลเกราะหนึ่งแสน และเสบียงสำหรับทางไกลพันลี้ ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายวันละพันตำลึงทอง ฉะนั้นการทำสงครามจึงควรเผด็จศึกโดยเร็วอย่าให้ยืดเยื้อ
บทที่ 3 : ยุทธศาสตร์เชิงรุก
หลักการสงครามถือว่า การทำให้ข้าศึกยอมสยบถือเป็นยอด การทำลายข้าศึกถือเป็นรอง เพราะฉะนั้น กองทัพที่รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง จึงมิใช่กองทัพที่สุดยอด แต่กองทัพที่สามารถทำให้ข้าศึกยอมสยบโดยไม่ต้องรบ ถือเป็นกองทัพที่สุดยอดแห่งสุดยอด
บทที่ 4 : รูปลักษณ์การรบ
แม่ทัพผู้สันทัดในการดำเนินสงคราม ก่อนอื่นจะต้องทำให้ฝ่ายตนตั้งอยู่ในฐานะที่ข้าศึกไม่อาจเอาชนะได้ เพื่อรอโอกาศที่ข้าศึกตกอยู่ในฐานะที่ฝ่ายตนเอาชนะได้, การที่ข้าศึกไม่สามารถเอาชนะเราได้นั้น ขึ้นอยู่กับเรา, การที่ข้าศึกตกอยู่ในฐานะเราเอาชนะได้นั้น อยู่ที่ข้าศึกเอง
บทที่ 5 : พลานุภาพ
การปกครองไพร่พลจำนวนมากให้ได้ดุจปกครองไพร่พลไม่กี่คน เป็นปัญหาการจัดอัตรากำลังพลตามลำดับอย่างรัดกุม, การบัญชากองทัพใหญ่ให้ดุจบัญชาหน่วยทหารเล็กๆ เป็นปัญหาการใช้สัญญานต่างๆ อย่างชัดเจนและมีระเบียบ, การนำทัพต้านการโจมตีของข้าศึกโดยไม่ปราชัย เป็นปัญหาการใช้ยุทธวิธีการรบทั้ง การรบนอกแบบ และการรบในแบบ
บทที่ 6 : ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง
ฝ่ายใดถึงสมรภูมิก่อนเป็นฝ่ายรอข้าศึก ฝ่ายนั้นไม่อิดโรย ฝ่ายใดถึงสมรภูมิทีหลัง อีกทั้งต้องรบอย่างฉุกละหุก ฝ่ายนั้นอิดโรย
บทที่ 7 : การดำเนินกลยุทธ์
เมื่อประจันหน้าข้าศึก ต้องชิงความได้เปรียบ, ต้องแปรเส้นทางอ้อมให้เป็นทางลัด, แปรความด้อยให้เป็นความได้เปรียบ
บทที่ 8 : สิ่งผันแปร 9 ประการ
เมื่อระดมพลแล้ว อย่าตั้งทัพในพื้นที่วิบาก, พื้นที่คาบเกี่ยวพึงคบมิตร, พื้นที่กันดารอย่าหยดทัพ, พื้นที่โอบล้อมต้องใช้กลยุทธ์, พื้นที่มรณะต้องสู้ยิบตา, เส้นทางบางสายไม่ผ่าน, กองทัพบางกองไม่ตี, หัวเมืองบางเมืองไม่บุก, ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง, ไม่สนองราชโองการหากไม่ก่อผลดีต่อการสงคราม
บทที่ 9 : การเดินทัพ
การจัดวางกำลังทหารและสังเกตการณ์สภาพข้าศึกในภูมิประเทศต่างๆ ควรใส่ใจในเรื่องต่อไปนี้ เมื่อจะยกทัพข้ามเขาจะต้องเดินใกล้หุบเขาที่มีแหล่งน้ำและหญ้า, เมื่อจะยกทัพข้ามแม่น้ำ ควรตั้งทัพให้ห่างไกลจากแม่น้ำ, เมื่อจะยกทัพผ่านเขตหนองบึงต้องรีบผ่านไปโดยเร็ว, การตั้งทัพจะต้องตั้งอยู่ในพื้นที่สูงแห่ง ไม่ควรตั้งในพื้นที่ต่ำและเปียกแฉะ
บทที่ 10 : ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศมีด้วยกันทั้งหมด 6 ลักษณะคือ ภูมิประเทศที่ไปมาสะดวกทั้งสองฝ่าย, ภูมิประเทศที่เข้าง่ายออกยาก, ภูมิประเทศที่รุกรบไม่สะดวกทั้งสองฝ่าย, ภูมิประเทศที่เป็นช่องแคบ, ภูมิประเทศที่สำคัญอันตราย และภูมิประเทศห่างไกล
บทที่ 11 : พื้นที่ 9 ลักษณะ
พื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการทหารนั้นแบ่งออกได้เป็น 9 ลักษณะคือ พื้นที่ขวัญเสีย, พื้นที่หนีง่าย, พื้นที่แย่งชิง, พื้นที่สะดวก, พื้นที่แห่งไม่ตรี, พื้นที่แห่งความเป็นความตาย, พื้นที่ทุรวิบาก, พื้นที่อ้อมล้อม และพื้นที่มรณะ
บทที่ 12 : การโจมตีด้วยไฟ
การโจมตีด้วยไฟมี 5 ลักษณะคือ เผาทำลายทหาร, เผาทำลายเสบียง, เผาทำลายยุทธสัมภาระ, เผาทำลายคลังแสงสรรพาวุธ, และเผาทำลายเส้นทางลำเลียงเสบียง
บทที่ 13 : การใช้จารชน
การใช้จารชนมี 5 ลักษณะคือ จารชนพื้นเมือง, จารชนไส่ศึก, จารชนสองหน้า, จารชนพลีชีพ, และจารชนธรรมดา