สงครามครูเสดคือสงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกาย หรือระหว่างชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่หมายถึงสงครามระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ครูเสดแปลว่า ติดด้วยเครื่องหมายกางเขน ซึ่งจะมีอัศวินและนักรบจากทั่วทั้งยุโรปเป็นกำลังรบสำคัญ โดยผมเคยเขียนเรื่องอัศวินแห่งกองทัพพระคริสต์ เอาไว้ก่อนหน้านี้นิดหน่อย โดยแรกเริ่มเดิมทีสงครามครูเสดต้องการที่จะทำเพื่อปลดแอกกรุงเยรูซาเล็มซึ่งถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ให้พ้นจากการปกครองของพวกมุสลิม แต่สงครามในช่วงหลังๆ กลับขยายอาณาเขตไปยังบริเวณอื่นๆด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ได้เกิดสงครามครูเสดขึ้นหลายครั้ง แต่เราจะนับเฉพาะครั้งใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด 9 ครั้งด้วยกัน (บางเล่มก็นับได้ 8 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการนับช่วงเวลาที่เกิดสงครามด้วย)
– สงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-1101)
เรื่องเริ่มต้นขึ้นเมื่อ จักรพรรดิอเล็กเซียส คอมเมนุส ของจักรวรรดิไบเซนไทน์ หรือโรมันตะวันออกได้ถูกพวกเติร์กล้อมเมืองคอนสแตติโนเบิลเอาไว้ พระองค์เลยมีสาส์นไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 แห่งกรุงโรมเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาก็เห็นด้วยที่จะให้ความช่วยเหลือและจะได้ยกทัพไปเยรูซาเล็มด้วย ซึ่งพระองค์ได้ใช้การประชุมพระระดับสูงที่เกลอมองต์ในฝรังเศสในการประกาศเข้าร่วมสงคราม โดยสมเด็จพระสันตะปาปาประกาศให้สงครามครั้งนี้เป็น “สงครามตามปราถนาของพระเจ้า” (God Wills It) หรือ “สงครามศักดิ์สิทธิ์” (Holy War) โดยกองทัพชาวคริสต์ประกอบไปด้วยกองทัพของปีเตอร์นักพรต กองทัพจากฝรังเศส อังกฤษ บุยยอง ซึ่งทั้งหมดเดินทางมาถึงและลอมเยรูซาเล็มในวันที่ 15 กรกฏาคม ค.ศ. 1099 ซึ่งกองทัพของมุสลิมก็พยายามต่อต้านอย่างหนักแต่ก็ต้านทานกองทัพของฝ่ายคริสต์ไว้ไม่ได้จึงพ้ายแพ้ไป แต่ก็เป็นครั้งเดียวที่ฝ่ายคริสต์สามารถเอาชนะมุสลิมได้
– สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1147-1149)
หลังจากที่ปล่อยให้ฝ่ายคริสต์ครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ทางฝ่ายมุสลิมก็เริ่มสะสมกำลังพล นำโดย นูรุดดีน มะฮ์มูด บุตรของ อิมาดุดดิน ซังกี เป็นกำลังสำคัญในการยึดเมืองอาเลปโป เมื่องเอเดสสา และอีกหลายเมือง แต่ไม่ได้เยรูซาเล็ม ส่วนทางฝ่ายคริสต์พวกขุนนางและอัศวินต่างๆ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือมากนัก จะมีก็แต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรังเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันนี พระมเหสีเอเลเนอร์ แห่งอังกฤษ ที่เข้าร่วมไปกับกองทัพ แต่สงครามครั้งนี้ฝ่ายคริสต์แพ้อย่างย้อยยับและต้องกลับบ้านด้วยความผิดหวัง
– สงครามครูเสดครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1187-1192)
ต่อมาเกิดปัญหาภายในดามัสกัส นูรุดดีนได้ยกทัพไปยึดดามัสกัสเอาไว้ ซึ่งทำให้ คอลีฟะฮ์แห่งกรุงแบกแดดประทานตำแหน่งให้เป็น อัล มาลิก อัล อาดีล (กษัตริย์ผู้ทรงธรรม) ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1164 กองทัพของพวกแฟรงค์และกรีกซึ่งเป็นชาวคริสต์ได้โจมตีนูรุดดีนอย่างหนัก แต่นูรุดดีนก็สามารถเอาชนะและยึดเมืองมาได้อีกหลายเมือง และพยายามเข้ายึดเยรูซาเล็ม ในปี ค.ศ. 1169 ซาลาดีน ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งกรุงไคโร แห่งอียิปต์ ต่อมาปี ค.ศ. 1174 นูรุดดีนเสียชีววิตทำให้ซาลาดีนมีอำนาจเด็ดขาดเหนืออียิปต์ หิจญาซ และยะมัน ต่อมาในปี 1191 กองทัพฝ่ายคริสต์นำโดยพระเจ้าฟิลิปป์ออกุสต์ แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าริชาร์ด ใจสิงห์ แห่งอังกฤษได้นำทัพมาต้านการรุกคืบของซาลาดิน สงครามครั้งนี้มีความพยายามในการเจรจาสงบศึกกันหลายครั้ง จนในที่สุด 2 กันยายน 1192 ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึกถาวร และพระเจ้าริชาร์ดได้ยกทัพกลับ แต่พระองค์กลับถูกพวกคริสต์ด้วยกันจับกุมตัวไว้และให้ทางอังกฤษส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวกลับไป และเยรูซาเล็มก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิมอีกครั้ง
– สงครามครูเสดครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1202-1204)
แรกเริ่มเดิมทีหวังจะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมาจากฝ่ายมุสลิม แต่หลังจากความล้มเหลวของสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ทางยุโรปก็หมดความสนใจที่จะต่อต้านมุสลิมในสงครามครูเสดครั้งใหม่ สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 มีพระประสงค์จะให้ทำสงครามครั้งใหม่ แต่ไม่มีกษัตริย์ในยุโรปพระองค์ใดสนพระทัย เพราะต่างก็ติดพันสงครามภายในอณาจักรของตัวเองอยู่ แต่แล้วในเดือนเมษายน 1024 ก็มีกองทัพครูเสดจากยุโรปตะวันตกได้เข้าไปบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล อันเป็นเมืองหลวงของจักวรรดิ์ไบเซนไทน์
– สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1217-1221)
สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพนำโดย เลฌอโปลด์ที่ 4 แห่งออสเตรีย สมเด็ดพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี กองทัพเยอรมันนีนำโดยโอลิเวอร์ แห่งโคโลญ ได้นำทัพไปบุกอียิปต์ แต่ก็พ้ายแพ้กลับมา
– สงครามครูเสดครั้งที่ 6 (ค.ศ. 1228-1229)
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ทรงเสกสมรสกับโยลันเดอ แห่งเยรูซาเล็ม พระธิดาของจอร์น แห่งบริแอนน์ ทำให้พระองค์อ้างสิทธิ์โดยชอบธรรมในการบุกยึดเยรูซาเล็ม แต่ระหว่างเดินทางเกินโรคระบาดเสียก่อนจึงต้องยกทัพกลับ
– สงครามครูเสดครั้งที่ 7 (ค.ศ. 1248-1254)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้พยายามทำการโจมตีอียิปต์ แต่พระองค์ถูกฝ่ายมุสลิมจับตัวไว้ได้ และต้องให้ทางฝรังเศสส่งเงินจำนวนมากเพื่อไถ่ตัวกลับไป
– สงครามครูเสดครั้งที่ 8 (ค.ศ. 1270)
เดือนกรกฏาคม 1270 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส ได้ยกทัพไปโจมตีตูนิสเพื่อจะใช้เป็นที่มั่นในการโจมตีอียิปต์ต่อไป แต่การยกทัพไปแอฟริกาในครั้งนั้น ต้องเจอกับโรคภัยต่างๆ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 เองก็ทรงสวรรคตด้วยโรคท้องร่วง ส่วนทหารที่เหลือก็เจอกับโรคภัยต่างๆเช่นกัน ทำให้ต้องยุติสงครามกับตูนิสและไปไม่ถึงอียิปต์อย่างที่ตั้งใจ
– สงครามครูเสดครั้งที่ 9 (ค.ศ. 1271-1272)
สงครามครั้งนี้ทางฝ่ายคริสต์มีผู้นำทัพหลายคนเช่น สมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ สมเด็จพระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แห่งอังกฤษ โบฮีมอนต์ที่ 6 แห่งแอนติออค อบาคา ข่านแห่งมองโกเลีย และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอาร์เมเนีย ส่วนทางฝ่ายมุสลิมนำทัพโดย ไบบาร์ โดยสงครามครั้งนี้ยุติลงเมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 2 สวรรคตลงในปี 1464